xs
xsm
sm
md
lg

ชี้อนาคตคนเอเชีย ต้องพึ่ง“โมเดลเติบโตแบบปลอดมลภาวะ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



ตามรายงานของ Forbes Asia ในหมวด Inside Asia ระบุว่าการประชุมหารือร่วมกันของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลหลายประเทศในเอเชียที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ Asia-Pacific Ministerial Summit on the Environment มีประเด็นที่บ่งชี้ว่าคนเอเชียไม่มีทางเลือกในการปกป้องสุขภาพของประชากรและกำหนดอนาคตในการเติบโตของภูมิภาค นอกจากใช้โมเดลการเติบโตแบบปลอดมลภาวะ
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ประเด็นสำคัญในการประชุมสุดยอดระดับรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ คือ
ประการแรก การแสวงหาแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรือสร้างมลภาวะเพิ่มเติม ซึ่งจะย้อนกลับมาส่งผลต่อประชากรของเอเชียเอง
ประการที่สอง ทรัพยากรอย่างเช่น น้ำมัน ไบโอแมส โลหะและแร่ธาตุย่อมยังคงสถานะกลุ่มทรัพยากรสำคัญในการเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ต้องเป็นการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเอเชียได้รับการประเมินว่ามีระดับประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในโลกเทียบกับภมิภาคอื่น
ในปี 2015 เอเชียใช้ 1 ใน 3 ของวัตถุดิบเพื่อสร้างแต่ละหน่วยของรายได้ของรายได้ประชาชาติ มากกว่าเมื่อปี 1990 และประเทศกำลังพัฒนาใช้ทรัพยากรมากกว่าถึง 5 เท่าต่อดอลลาร์ของรายได้ประชาชาติ เทียบกับประเทศที่เหลือของโลก และ 10 เท่าของระดับที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้อยู่ ซึ่งการไร้ประสิทธิภาพสูงกว่าภูมิภาคอื่นนี้ ทำให้เกิดการสูญเปล่าและมลภาวะ ความขาดแคลนทรัพยากรสำหรับอนาคตและสุขภาพของสาธารณชน
ประการที่สาม ผลกระทบของมลภาวะต่อเอเชียมีสูงกว่าภูมิภาคอื่น เพราะอัตราการเติบโตของภูมิภาคนี้สูงมาก จึงทำให้มลภาวะเป็นประเด็นที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน แม้ว่าความท้าทายของมลภาวะเป็นประเด็นระดับโลก ผลกระทบที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาจะรุนแรงกว่า
มีการประเมินว่า 95% ของผู้ใหญ่และเด็กได้รับผลกระทบจากมลภาวะ และมีการเจ็บป่วยที่มาจากมลภาวะ โดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง และเอเชีย-แปซิฟิกได้สร้างสารเคมีและขยะเคมีมากกว่าทุกภูมิภาคในโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 25 จาก 30 เมืองหลักๆ ที่มีมลภาวะระดับสูงเกินค่ามาตรฐาน
ประการที่สี่ แม่น้ำราว 80% ในเอเชียมีระดับมลภาวะสูงมาก ขณะที่เอเชียผลิตพลาสติกในทะเลมากที่สุด ติดสูงสุด 5 อันดับแรกของโลก หรือทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายการจัดการมลภาวะทางทะเลในภูมิภาคนี้ราว 1,300 ล้านดอลลาร์
ประการที่ห้า ปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังปัญหาของเอเชียประการหนึ่งคือ การอพยพของคนชนบทเข้าสู่ตัวเมืองอยู่ในอัตราสูงมากที่สุด ควบคู่กับการขยายตัวของเมืองออกไปจากเดิมตามความเจริญ
ดังกล่าว แนวทางการเติบโตของเอเชียในอนาคตจึงหมายความถึง
•การใช้เทคโนโลยีกรีน การหานวัตกรรมที่ประหยัดพลังงาน พลังงานทดแทน ที่ใช้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในด้านกรีน ที่คาดว่าปัจจุบันทั่วโลกจะมีประมาณ 9.8 ล้านคนในปี 2016
•การกำหนดรายจ่ายในการสร้างมลภาวะ ที่เรียกเก็บจากคนที่ก่อให้เกิด
•การแยกแหล่งเงินทุนเพื่อให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอให้กับการลงทุนในกรีน และการจัดการมลภาวะ
กำลังโหลดความคิดเห็น