แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พศ.2560 - 2564) เริ่มใช้เป็นทางการแล้ว เป็นการวางมาตรฐาน 5 ปีจากนี้ไป ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การดูแลคนไทยตลอดชีวิต การปรับเปลี่ยนฐานการผลิต รวมถึงส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจใหม่ๆ และโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสมบูรณ์ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เชื่องโยงต่อภูมิภาค การดำเนินธุรกิจการลงทุนที่มีความสะดวกยิ่งขึ้น
ในการลงทุนด้านวิจัยพัฒนานวัตกรรม ใน 5 ปีนี้ จะเห็นบทบาทในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นและมีการนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ เพื่อมุ่งมั่นนำประเทศไทยพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เตรียมคนไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 ถ้าดูจากนโยบาลของรัฐบาลก็จะเห็นว่าให้ความสนใจกับคนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนวัยเรียน วัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงวัย เรื่องสำคัญเช่น การพัฒนาเด็กในช่วงแรกเกิดถึง 3 ขวบ ที่มีการให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ช่วงวัยรุ่น วัยเรียน กำลังปรับระบบการศึกษา และจะมีคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปฏิรูป
ด้านแรงงาน เตรียมพัฒนาแรงงานสำหรับสาขาสังกัดใหม่ๆ เพื่อเตรียมวางระบบที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในวัยเกษียณ เรื่องเหล่านี้ก็ต้องดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลนักเรียนจะทำให้ได้ผล พ่อแม่และครอบครัวก็ต้องร่วมมือกับทางโรงเรียนในการดูแลเด็ก ขณะที่การปรับหลักสูตร เรื่องศิลปวัฒนธรรมจะต้องส่งเสริมควบคู่กับด้านวิชาการ ดังนั้นการสร้างสรรค์ด้านวัตกรรม และมีความหลากหลายผสมผสานกัน
ด้านสาธารณสุข จะมีการปรับปรุงระบบการบริหาร แต่ยืนยันว่าเรื่องสิทธิประโยชน์และการดูแลจะมีเพิ่มขึ้น และใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นตลอดมา จึงเป็นการปรับระบบให้เกิดความยั่งยืน เมื่อสังคมในมาตรฐาน 4.0 เริ่มขึ้น ก็จะมีตัวเลขความสำเร็จเป็นเป้าหมายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง1-5 ปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัฐบาลพยายามทำหลายเรื่องที่สามารถทำได้เร็ว ทั้งการดูแลคนไร้ที่อยู่อาศัย คนพิการ คนด้อยโอกาส มีทั้งการจัดสรรเรื่องเงิน จัดระบบสหกรณ์ แต่ก็มีเรื่องใหญ่ๆที่จำเป็นต้องทำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เศรษฐกิจเข้มแข็งและแข่งขันได้ ปีนี้ซึ่งเป็นปีแรกของแผน เศรษฐกิจก็น่าจะขยับตัวได้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเราก็ต้องเร่งตัวขึ้นไปอีก จะต้องพยุงกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยขึ้นมา
นี่คือการปรับให้มีความสามารถในการแข่งขัน เรื่องภาคเกษตร ภาครัฐก็ผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นเกษตรรายใหญ่ซึ่งมีข้อมูลที่สามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ขณะที่ภาคเกษตรเอกชนที่มีความพร้อม ก็มีแผน เตรียมที่จะใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรมากขึ้น คนรุ่นใหม่ที่เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ก็เริ่มเห็นตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยีใช้ข้อมูลข่าวสารและใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ สร้างธุรกิจต่อเนื่อง มีกลยุทธ์ใหม่เกิดขึ้น
ส่วนการส่งเสริมธุรกิจเกิดใหม่ Start-up ในวิถีเศรษฐกิจที่ยกระดับเป็น New S-Curve ด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมนวัตกรรม มีหลายสาขาทั้งท่องเที่ยว อาหาร การให้บริการเชื่อมโยง และการลงทุน มากขึ้น แม้ตัวเลขยังไม่มากแต่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งก็ถือเป็นความคืบหน้า และก็ต้องปรับตัวต่อไป
ดังนั้นกลไกสนับสนุนต่างๆ ทั้งการเงิน การเตรียมพื้นที่ และการลงทุนก็เป็นเรื่องที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น หวังว่าจะได้เห็นในเรื่องของ ธุรกิจใหม่ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 11 พื้นที่ป่าไม้ลดลง แต่ในช่วงเริ่มต้นแผนที่ 12 รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการป้องกันพื้นที่ถูกบุกรุก และพยายามจัดระบบการปลูกป่าจากการร่วมมือของหลายภาคส่วน จะมีการลงทุนเพิ่มแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลางก่อนซึ่งสามารถทำได้ง่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางอาหาร น้ำ พลังงาน เช่นรักษาความมั่งคงของแหล่งพลังงาน ส่วนพลังงานทดแทนในช่วง 20 ปีก็มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 รัฐบาลกะทัดรัด โปร่งใส เข้าถึงได้ จะมีกฎหมายใหม่และการปฏิรูปเรื่องต่างๆ เกิดขึ้นในช่วง 1 ปี จะยกเลิกและปรับปรุงกฏหมายเก่า ที่คนร้องเรียนกันมากว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
ส่วนเรื่องรัฐบาลดิจิทัลก็เพิ่งเริ่ม ในหลายส่วนพยายามใช้ระบบการสื่อสารของกรมพัฒนาธุรกิตการค้า ในการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้แบบฟอร์มเดียว เรื่องภาษี การจดทะเบียน ช่วยลดเวลา แต่จะต้องให้ดีขึ้นอีก
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีการลงทุนในระบบขนส่ง ระบบรางในกรุงเทพและพื้นที่ต่างๆ ด้านการขนส่งทางอากาสก็เชื่อมโยงเป็นอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุง และจะมีดาวเทียมอีกตัวหนึ่ง เพื่อใช้ด้านข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงมาสู่ฐานเศรษฐกิจ ภาคเกษตร การประมงและภาคอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การวิจัยพัฒนา สามารถสนับสนุนการพัฒนาเช่น การเกษตร คมนาคมและการบริการ ดูแลผู้สูงอายุ แต่เราต้องแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัดอยู่ตรงข้อต่อของการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ผลวิจัยเกิดขึ้นและไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 9 เรื่องพัฒนาศักยภาพเมืองใ ในอนาคตผู้สูงอายุจำนวนมากจะอยู่ในต่าง จังหวัด กรุงเทพในอนาคตจะพัฒนาเป็นเมืองทันสมัยมากขึ้น และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคต่างๆ
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC ก็เป็นหัวใจของการปรับเปรียนทางด้านการผลิตอุตสาหกรรมยุคใหม่ และน่าจะต้องเร่งเพิ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ๆ
รัฐบาลให้ความสนใจแผนฯ 12 โดยการขับเคลื่อนเป็นนโยบายเชิงพื้นที่และจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านนายกรัฐมนตรียังได้สั่งให้ปรับกลยุทธ์โดยแบ่งเป็น 6 ภาคคือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การพัฒนาเมือง รัฐบาลจะมีส่วนดูแลเมืองต่างๆ มากขึ้น โดยร่วมกับหลายๆหน่วยงาน การพัฒนาเมืองในภูมิภาคเช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ ที่จะพัฒนาในด้านต่างๆอย่างสมดุล
ยุทธศาสตร์ที่ 10 การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค เพื่อสร้างโอกาสจากความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีเวทีอื่นๆของโลกที่ประเทศไทยมีพันธสัญญา เช่น 17 เป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติหรือ SDG และการลดภาวะโลกร้อนที่ไทยเรามีบทบาทสนับสนุนอย่างชัดเจน

นี่เป็นการสรุปย่อ แผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ซึ่งมีความท้าทายมากมาย ตอนนี้เริ่มเดินแล้วแต่หลายท่านก็อยากให้วิ่ง เราก็ต้องมาร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เราสามารถขับเคลื่อนได้เร็วจริงๆ
ดร. ปรเมธี วิมลศิริ
เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในการลงทุนด้านวิจัยพัฒนานวัตกรรม ใน 5 ปีนี้ จะเห็นบทบาทในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นและมีการนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ เพื่อมุ่งมั่นนำประเทศไทยพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เตรียมคนไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 ถ้าดูจากนโยบาลของรัฐบาลก็จะเห็นว่าให้ความสนใจกับคนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนวัยเรียน วัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงวัย เรื่องสำคัญเช่น การพัฒนาเด็กในช่วงแรกเกิดถึง 3 ขวบ ที่มีการให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ช่วงวัยรุ่น วัยเรียน กำลังปรับระบบการศึกษา และจะมีคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปฏิรูป
ด้านแรงงาน เตรียมพัฒนาแรงงานสำหรับสาขาสังกัดใหม่ๆ เพื่อเตรียมวางระบบที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในวัยเกษียณ เรื่องเหล่านี้ก็ต้องดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลนักเรียนจะทำให้ได้ผล พ่อแม่และครอบครัวก็ต้องร่วมมือกับทางโรงเรียนในการดูแลเด็ก ขณะที่การปรับหลักสูตร เรื่องศิลปวัฒนธรรมจะต้องส่งเสริมควบคู่กับด้านวิชาการ ดังนั้นการสร้างสรรค์ด้านวัตกรรม และมีความหลากหลายผสมผสานกัน
ด้านสาธารณสุข จะมีการปรับปรุงระบบการบริหาร แต่ยืนยันว่าเรื่องสิทธิประโยชน์และการดูแลจะมีเพิ่มขึ้น และใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นตลอดมา จึงเป็นการปรับระบบให้เกิดความยั่งยืน เมื่อสังคมในมาตรฐาน 4.0 เริ่มขึ้น ก็จะมีตัวเลขความสำเร็จเป็นเป้าหมายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง1-5 ปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัฐบาลพยายามทำหลายเรื่องที่สามารถทำได้เร็ว ทั้งการดูแลคนไร้ที่อยู่อาศัย คนพิการ คนด้อยโอกาส มีทั้งการจัดสรรเรื่องเงิน จัดระบบสหกรณ์ แต่ก็มีเรื่องใหญ่ๆที่จำเป็นต้องทำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เศรษฐกิจเข้มแข็งและแข่งขันได้ ปีนี้ซึ่งเป็นปีแรกของแผน เศรษฐกิจก็น่าจะขยับตัวได้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเราก็ต้องเร่งตัวขึ้นไปอีก จะต้องพยุงกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยขึ้นมา
นี่คือการปรับให้มีความสามารถในการแข่งขัน เรื่องภาคเกษตร ภาครัฐก็ผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นเกษตรรายใหญ่ซึ่งมีข้อมูลที่สามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ขณะที่ภาคเกษตรเอกชนที่มีความพร้อม ก็มีแผน เตรียมที่จะใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรมากขึ้น คนรุ่นใหม่ที่เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ก็เริ่มเห็นตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยีใช้ข้อมูลข่าวสารและใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ สร้างธุรกิจต่อเนื่อง มีกลยุทธ์ใหม่เกิดขึ้น
ส่วนการส่งเสริมธุรกิจเกิดใหม่ Start-up ในวิถีเศรษฐกิจที่ยกระดับเป็น New S-Curve ด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมนวัตกรรม มีหลายสาขาทั้งท่องเที่ยว อาหาร การให้บริการเชื่อมโยง และการลงทุน มากขึ้น แม้ตัวเลขยังไม่มากแต่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งก็ถือเป็นความคืบหน้า และก็ต้องปรับตัวต่อไป
ดังนั้นกลไกสนับสนุนต่างๆ ทั้งการเงิน การเตรียมพื้นที่ และการลงทุนก็เป็นเรื่องที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น หวังว่าจะได้เห็นในเรื่องของ ธุรกิจใหม่ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 11 พื้นที่ป่าไม้ลดลง แต่ในช่วงเริ่มต้นแผนที่ 12 รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการป้องกันพื้นที่ถูกบุกรุก และพยายามจัดระบบการปลูกป่าจากการร่วมมือของหลายภาคส่วน จะมีการลงทุนเพิ่มแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลางก่อนซึ่งสามารถทำได้ง่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางอาหาร น้ำ พลังงาน เช่นรักษาความมั่งคงของแหล่งพลังงาน ส่วนพลังงานทดแทนในช่วง 20 ปีก็มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 รัฐบาลกะทัดรัด โปร่งใส เข้าถึงได้ จะมีกฎหมายใหม่และการปฏิรูปเรื่องต่างๆ เกิดขึ้นในช่วง 1 ปี จะยกเลิกและปรับปรุงกฏหมายเก่า ที่คนร้องเรียนกันมากว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
ส่วนเรื่องรัฐบาลดิจิทัลก็เพิ่งเริ่ม ในหลายส่วนพยายามใช้ระบบการสื่อสารของกรมพัฒนาธุรกิตการค้า ในการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้แบบฟอร์มเดียว เรื่องภาษี การจดทะเบียน ช่วยลดเวลา แต่จะต้องให้ดีขึ้นอีก
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีการลงทุนในระบบขนส่ง ระบบรางในกรุงเทพและพื้นที่ต่างๆ ด้านการขนส่งทางอากาสก็เชื่อมโยงเป็นอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุง และจะมีดาวเทียมอีกตัวหนึ่ง เพื่อใช้ด้านข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงมาสู่ฐานเศรษฐกิจ ภาคเกษตร การประมงและภาคอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การวิจัยพัฒนา สามารถสนับสนุนการพัฒนาเช่น การเกษตร คมนาคมและการบริการ ดูแลผู้สูงอายุ แต่เราต้องแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัดอยู่ตรงข้อต่อของการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ผลวิจัยเกิดขึ้นและไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 9 เรื่องพัฒนาศักยภาพเมืองใ ในอนาคตผู้สูงอายุจำนวนมากจะอยู่ในต่าง จังหวัด กรุงเทพในอนาคตจะพัฒนาเป็นเมืองทันสมัยมากขึ้น และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคต่างๆ
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC ก็เป็นหัวใจของการปรับเปรียนทางด้านการผลิตอุตสาหกรรมยุคใหม่ และน่าจะต้องเร่งเพิ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ๆ
รัฐบาลให้ความสนใจแผนฯ 12 โดยการขับเคลื่อนเป็นนโยบายเชิงพื้นที่และจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านนายกรัฐมนตรียังได้สั่งให้ปรับกลยุทธ์โดยแบ่งเป็น 6 ภาคคือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การพัฒนาเมือง รัฐบาลจะมีส่วนดูแลเมืองต่างๆ มากขึ้น โดยร่วมกับหลายๆหน่วยงาน การพัฒนาเมืองในภูมิภาคเช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ ที่จะพัฒนาในด้านต่างๆอย่างสมดุล
ยุทธศาสตร์ที่ 10 การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค เพื่อสร้างโอกาสจากความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีเวทีอื่นๆของโลกที่ประเทศไทยมีพันธสัญญา เช่น 17 เป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติหรือ SDG และการลดภาวะโลกร้อนที่ไทยเรามีบทบาทสนับสนุนอย่างชัดเจน
นี่เป็นการสรุปย่อ แผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ซึ่งมีความท้าทายมากมาย ตอนนี้เริ่มเดินแล้วแต่หลายท่านก็อยากให้วิ่ง เราก็ต้องมาร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เราสามารถขับเคลื่อนได้เร็วจริงๆ
ดร. ปรเมธี วิมลศิริ
เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ