xs
xsm
sm
md
lg

ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ เขาพระยาเดินดง เดินหน้าปลูกไม้ใหม่ในปีนี้ 3,200 ไร่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ซีพีเอฟ สานต่อโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ล่าสุด ร่วมกับ กรมป่าไม้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สํานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และเครือข่ายภาคประชาสังคม กว่า 1,000 คน ปลูกไม้ใหม่ และสร้างฝายชะลอน้ำความชุ่มชื้น ณ เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี


นพดล ศิริจงดี ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ เปิดเผยว่า พื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำ เขาพระยาเดินธง ได้รับการประกาศให้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติตามมติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 ในอดีตพื้นที่ป่าเขาพระยาเดินธงเคยมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันการขยายตัวของชุมชนและความต้องการที่ดินทำมาหากินทำให้พื้นที่ป่าถูกบุกรุกนำไปใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก
สภาพพื้นที่ป่าเขาพระยาเดินธงในปัจจุบันมีวัชพืชขึ้นปกคลุมหนาแน่นซึ่งยากต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการฟิ้นฟูและบำรุงรักษาให้กลับสู่ความสมบูรณ์ ด้วยความร่วมมือสนับสนุนนโยบายภาครัฐด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนสานภารกิจความยังยื่นของซีพีเอฟในเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมอนุรักษ์ และพื้นฟูป่ายุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ ตามแนวความคิด “จากภูผาสู่ป่าชายเลน” ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน 5 ประการ ของโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ได้แก่ 1.ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำในลุ่มแม่น้ำป่าสัก พื้นที่เขาพระยาเดินธงจนกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ 2.ติดตามและวัดผลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ที่เพิ่มขึ้น โดยเทียบจากฐานข้อมูลจากปีที่เริ่มดำเนินการ 3.ร่วมลดภาวะโลกร้อนและเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4.เป็นแหล่งพืชอาหารสมุนไพรใช้สอยให้กับประชาชน ชุมชน สร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ 5.พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของป่าไม้ตามธรรมชาติ
ปัจจัยสำคัญของการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหลักๆ คือการดำเนินกลยุทธ์และแผนงานที่ดี มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีการกำหนดโครงการสร้างการดำเนินงานให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งในผู้รับผิดชอบหลักและผู้สนับสนุนโครงการ และความสำคัญในการดำเนินงานตามแผนงานและมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมออย่างใกล้ชิด โดยมีการประชุมและลงพื้นที่ทำงานร่วมกัน ฟังความคิดเห็นร่วมกัน
"แนวทางฟื้นฟูป่าในการดำเนิดงานในปี 2560 นี้ เราจะมีการอนุรักษ์ป่าไม้ ปลูกไม้ใหม่ราว 3,200 ไร่ เพาะกล้าไม้เพื่อเตรียมการปลูกประมาณ 400,000 ต้น สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นอีก 20 ฝาย สร้างโรงเรือนเพาะชำและสร้างโครงการต่างๆ รองรับการดำเนินงาน และกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนราวประมาณ 1,000 คน เราจะดำเนินการปลูกไม้แบบพิถีพิถันร้อยไร่แบ่งเป็นการปลูกป่า แปลงสาธิต การปลูกป่าเชิงนิเวศจำนวน 50 ไร่ ซึ่งเป็นการปลูกป่าแบบไม้คละกันไม่จำกัดว่าต้องเป็นแถวเป็นแนว และการปลูกแบบเป็นแถวเป็นแนวอีก 50 ไร่ พร้อมทั้งสร้างฝายชะลอน้ำความชุ่มชื้นอีก 4 ตัว และปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ฝายกึ่งถาวร โครงการในครั้งนี้เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ รักษาสมดุลย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทำให้ประเทศมีความมั่นคงต่อไป" นพดล กล่าว


ภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า พื้นที่ป่าในปัจจุบันบริเวณโดยรวมแล้วเหลือประมาณ 20% ของพื้นที่ แนวทางที่เราต้องดูแลในลำดับต่อไป ส่วนแรกคือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้อยู่แล้ว ส่วนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะเป็นป่าซับจำปา และป่าอื่นๆ ส่วนที่ 2 คือ บรรดาพื้นที่ป่าอื่นๆที่ยังมีก็ต้องป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่ม
ส่วนพื้นที่ป่าที่มีความทรุดโทรมทั้งโดยสภาพของธรรมชาติเอง หรือโดยการแผ้วถางของชาวบ้าน ส่วนนี้เราก็ต้องฟื้นฟูกลับมาเพิ่มพื้นที่การปลูกป่าขึ้นมา ซึ่งการปลูกป่าก็ทำได้หลายวิธีด้วยกัน อย่างแรกคือให้ชุมชนผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าบริเวณนั้นเป็นผู้มีส่วนร่วมดูแล ส่วนที่ 2 คือ บรรดากิจกรรมซีเอสอาในหน่วยงานราชการต่างๆ โรงเรียน สถานประกอบการ ร่วมทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะเชิญชวนเจ้าหน้าที่มาร่วมปลูก เช่น กิจกรรมในวันนี้ทางซีพีได้นำพาคณะเจ้าหน้าที่รวมทั้งพี่น้องประชาชนมาร่วมปลูกป่าที่เขาพระยาเดินธง
บริเวณเขาพระยาเดินธงมีการปลูกที่แตกต่างจากจุดอื่น จุดอื่นจะเป็นการปลูกที่ทางกรมป่าไม้ดำเนินการคือปลูกตามภูมิประเทศต่างๆ และให้ธรรมชาติดูแล ทำให้เปอร์เซอร์ของการรอดไม่สูงมาก แต่พื้นที่ตรงนี้ก็จะเป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้โดยการสำรวจของซีพีเป็นการปลูกแบบพิถีพิถัน 1.ใช้ต้นไม้ต้นใหญ่ 2.มีการใช้ระบบน้ำและเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วย โดยเป็นประชาชนที่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ ทำให้การรอดและการเติมโตก็จะสูงมาก
กล่าวสรุป คือ พื้นที่ใดที่ยังมีความสมบูรณ์จะต้องรักษาอย่างเข้มงวด ส่วนในพื้นที่มีการบุกรุกแล้วก็ต้องฟื้นฟู ส่วนพื้นที่ที่ทรุดโทรมก็ต้องกระตุ้นชุมชน สังคม และองค์กรต่างๆให้ร่วมกันปลูกป่าฟิ้นฟูและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในระยะยาวจังหวัดลพบุรีจะมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมา เป็นแหล่งน้ำ สถานที่ท่องเที่ยวและเป็นภาพรวมระบบนิเวศที่ดีของประเทศต่อไป
ว่าที่ร้อยตรี ทรงพล แป้นแก้ว นายอำเภอพัฒนานิคม เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีที่ทุกภาคส่วนได้มาร่วมกิจกรรม สำหรับอำเภอพัฒนานิคมก็เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่ในการประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการฟิ้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยการร่วมมือของชุมชนและทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้ โครงการ“ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่ดีของการสร้างความร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วน

กำลังโหลดความคิดเห็น