ตอกย้ำการเดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์ CSR สู่ความยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่” ซีพีเอฟแสดงเอกสารรายงานความยั่งยืน ประจำปี 2559 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) พร้อมกำหนดเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรระหว่างปี 2559-2563 จำนวน 11 เป้าประสงค์ เพื่อการเติบโตอย่างั่นคงและยั่งยืน
วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในปี 2559 บริษัทได้ทบทวนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตระหนักถึงบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมและผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก จึงนำ SDGs เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายกลยุทธ์ CSR ซึ่ง CPF มองว่าจะสามารถร่วมสนุบสนุน 9 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ นำมาสู่การกำหนด “เป้าหมาย 2563” และมี 11 เป้าประสงค์ขององค์กร ภายใต้กลยุทธ์ CSR สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่”
11 เป้าประสงค์ของซีพีเอฟที่จะดำเนินการให้สำเร็จภายในปี 2563 ประกอบด้วย
1. จะไม่มีการเรียกคืนสินค้า ที่เกิดจากสินค้ามีผบกระทบกับสุขภาพ
2. 30% ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ออกใหม่ จะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
3. เยาวขนกว่า 300,000 คนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้านการผลิตอาหาร และการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ
4. 100% ของคู่ค้าหลัก ผ่านการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
5. 100% ของวัตถุดิบหลักมาจากแหล่งผลิตที่รับผิดชอบ
6. เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 50,000 ราย ได้รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
7. ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
8. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
9. ลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต 10% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
10. ลดปริมาณของเสียจากการฝังกลบและเผาต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
11. ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าชายเลนและป่าต้นน้ำในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ และพื้นที่สีเขียวของบริษัท รวมพื้นที่กว่า 9,000 ไร่
การดำเนินงานภายใต้เสาหลัก “อาหารมั่นคง” ในปี 2559 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ (New Product Developement : NPD) 6.25% และได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน 183,000 คน มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ทักษะในการผลิตอาหารและการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ
ด้านเสาหลัก “สังคมพึ่งตน” การดำเนินงานในปี 2559 ได้ส่งมอบนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ” ให้กับคู่ค้า 7,100 ราย ด้านวัตถุดิบหลักทางการเกษตร ผ่านการจัดหาจากแหล่งผลิตที่รับผิดชอบและตรวจสอบย้อนกลับได้ สามารถจัดหาวัตถุดิบของข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์และปลาป่นที่ใช้ในประเทศไทยมาจากแหล่งผลิตที่มีความรับผิดชอบ 100% ส่วนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน ได้ส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงกลุ่มเปราะบางจำนวน 25,600 ราย
ขณะที่เสาหลัก “ดินน้ำป่าคงอยู่” ด้านการบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในปี 2559 สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 11.26% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต 1.05% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558 และช่วยในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าชายเลนและป่าต้นน้ำในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมถึงพื้นที่สีเขียนในพื้นที่ประกอบการ ในปี 2559 ผ่านโครงการ “ซีพีเอฟรักษืนิเวศ” และ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” รวมพื้นที่ 2,260 ไร่
“ซีพีเอฟได้เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานต่อสาธารณชน ผ่านการจัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปี ซึ่งเป็นปีที่ 6 ภายใต้แนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI-G4) และเป็นปีที่ 3 ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมกับการประเมิน DJSI (Dow Jones Sustainability Index) ประจำปี 2560 ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนในระดับโลก และการเข้าร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact หรือ UNGC) ซึ่งในปี 2559 สามารถยกระดับการรายงานจากระดับ Active Level เป็น Advance Level” วุฒิชัย กล่าวในที่สุด
วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในปี 2559 บริษัทได้ทบทวนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตระหนักถึงบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมและผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก จึงนำ SDGs เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายกลยุทธ์ CSR ซึ่ง CPF มองว่าจะสามารถร่วมสนุบสนุน 9 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ นำมาสู่การกำหนด “เป้าหมาย 2563” และมี 11 เป้าประสงค์ขององค์กร ภายใต้กลยุทธ์ CSR สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่”
11 เป้าประสงค์ของซีพีเอฟที่จะดำเนินการให้สำเร็จภายในปี 2563 ประกอบด้วย
1. จะไม่มีการเรียกคืนสินค้า ที่เกิดจากสินค้ามีผบกระทบกับสุขภาพ
2. 30% ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ออกใหม่ จะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
3. เยาวขนกว่า 300,000 คนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้านการผลิตอาหาร และการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ
4. 100% ของคู่ค้าหลัก ผ่านการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
5. 100% ของวัตถุดิบหลักมาจากแหล่งผลิตที่รับผิดชอบ
6. เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 50,000 ราย ได้รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
7. ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
8. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
9. ลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต 10% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
10. ลดปริมาณของเสียจากการฝังกลบและเผาต่อหน่วยการผลิต 5% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558
11. ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าชายเลนและป่าต้นน้ำในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ และพื้นที่สีเขียวของบริษัท รวมพื้นที่กว่า 9,000 ไร่
การดำเนินงานภายใต้เสาหลัก “อาหารมั่นคง” ในปี 2559 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ (New Product Developement : NPD) 6.25% และได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน 183,000 คน มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ทักษะในการผลิตอาหารและการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ
ด้านเสาหลัก “สังคมพึ่งตน” การดำเนินงานในปี 2559 ได้ส่งมอบนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ” ให้กับคู่ค้า 7,100 ราย ด้านวัตถุดิบหลักทางการเกษตร ผ่านการจัดหาจากแหล่งผลิตที่รับผิดชอบและตรวจสอบย้อนกลับได้ สามารถจัดหาวัตถุดิบของข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์และปลาป่นที่ใช้ในประเทศไทยมาจากแหล่งผลิตที่มีความรับผิดชอบ 100% ส่วนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน ได้ส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงกลุ่มเปราะบางจำนวน 25,600 ราย
ขณะที่เสาหลัก “ดินน้ำป่าคงอยู่” ด้านการบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในปี 2559 สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 11.26% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต 1.05% เมื่อเทียบกับฐานปี 2558 และช่วยในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าชายเลนและป่าต้นน้ำในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมถึงพื้นที่สีเขียนในพื้นที่ประกอบการ ในปี 2559 ผ่านโครงการ “ซีพีเอฟรักษืนิเวศ” และ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” รวมพื้นที่ 2,260 ไร่
“ซีพีเอฟได้เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานต่อสาธารณชน ผ่านการจัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปี ซึ่งเป็นปีที่ 6 ภายใต้แนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI-G4) และเป็นปีที่ 3 ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมกับการประเมิน DJSI (Dow Jones Sustainability Index) ประจำปี 2560 ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนในระดับโลก และการเข้าร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact หรือ UNGC) ซึ่งในปี 2559 สามารถยกระดับการรายงานจากระดับ Active Level เป็น Advance Level” วุฒิชัย กล่าวในที่สุด