ทุนมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาในศตวรรษที่ 21 โดยความท้าทายของสภาวการณ์ในศตวรรษที่ 21 คือ โอกาส ภัยคุกคาม ข้อจำกัด และขีดความสามารถชุดใหม่ ประเทศไทยกำลังมีทิศทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0
คำถามต่อมา คือเราจะมีแนวทางใดในการพัฒนาให้คนไทยเป็นคนไทย 4.0 หรือ ทุนมนุษย์ 4.0
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักว่าต้องมีการเตรียมการที่ดี ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูป (Reform) ผ่าน Model Thailand 4.0
Model Thailand 4.0 คือการขับเคลื่อน 3 ส่วนไปพร้อมกัน
ส่วนที่ 1 คือ การค้นหาโมเดลเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยไปข้างหน้าไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน
ส่วนที่ 2 คือ การวิจัยและพัฒนาในเชิงของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองการพัฒนาในส่วนที่ 1
ส่วนที่ 3 คือ การพัฒนาคนในส่วนของการปฏิรูปทางการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย
“ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งคือยุคปัจจุบัน ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นกันอยู่ตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญ 3 ประการที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ ประกอบด้วย
1) กับดักรายได้ปานกลาง (Middle-income trab) คือสภาพของประเทศสามารถพัฒนาจากประเทศยากจนที่มีรายได้ต่ำเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง แต่ก็ต้อง “ติดหล่ม” อยู่ในสภาพรายได้ปานกลาง โดยไม่มีแนวโน้มที่จะก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
2) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และด้านโอกาส ทำให้มีคนยากจนจำนวนมาก และขาดโอกาสในชีวิต
3) ความไม่สมดุลระหว่างคนและธรรมชาติ คือการพัฒนาที่ไม่คำนึกถึงผลกระทบที่จะเกิดกับสภาพแวดล้อม
จะเห็นว่าปัญหาหลักที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับ “คน” คนจึงเป็นหัวใจในการปฏิรูปไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” การพัฒนาที่จะดำเนินต่อไปจึงเป็นเรื่องของการพัฒนาคน อาทิ Smart Farmer, Smart SMEs, High Value Services และ Knowledge Worker
หัวใจของการพัฒนาไปสู่ Thailand 4.0 คือ การพัฒนาคน
จากเดิมที่มองคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต ที่ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ (People for Glowth) ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เป็น Glowth for People คือการทำให้เศรษฐกิจโตและเมื่อเศรษฐกิจโตจะผลักดันให้คนปลดปล่อยศักยภาพออกมา และก่อเกิดสังคมที่มี Hope Happyness และHarmony
คนไทย 4.0 ด้วยการพัฒนาคนให้มีทักษะ 4 H ประกอบด้วย Head คือการคิดวิเคราะห์เป็น Heart คือจิตใจค่านิยม Hands คือทักษะการทำงาน และ Health คือสุขภาพอนามัยที่ดี
การพัฒนาคนไปสู่การเป็น Smart Talent สำคัญที่องค์กรต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดวัฒนธรรมที่เอื้อให้คนแสดงความสามารถ รวมถึงมีจิตสาธารณะที่ร่วมกันทำให้วัตถุประสงค์ขององค์กรสำเร็จลุล่วง
ผู้นำองค์กรที่ดีต้องสร้าง 2 สิ่ง คือ Common Ground คือสร้างพื้นที่ร่วมกัน ทำให้องค์กรเป็นที่ที่คนมีความรู้สึกอยากอยู่ร่วมกัน และต่อจากนั้นต้องสร้าง Common Goal คือเป้าหมายร่วมกัน ทั้งสองสิ่งเป็นรากของวัฒนธรรมที่จะต้องสร้างให้เกิดความเชื่อร่วมกัน ผู้นำในอนาคตจะต้องทำตัวกลมกลืนกับผู้อื่น เป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี เปิดใจให้กว้าง มองไปให้ไกล และนำพาองค์กรไปให้ถึงจุดหมาย
ผู้นำองค์กรต้องทำให้องค์กรมี 3 M คือ
-Mutual Trust ความไว้ใจซึ่งกันและกัน
-Mutual Respect ความเคารพซึ่งกันและกัน
-Mutual Benefit ผลประโยชน์ร่วมกัน
ผู้นำในอนาคตไม่ใช่ผู้ที่นำคนไปแข่งขันช่วงชิงกับผู้อื่น แต่เป็นผู้นำที่ต้องสามารถทำให้เกิดการประสานร่วมมือกับคนอื่นได้ เรียกว่า Collective Ledership ซึ่งนำมาสู่แนวคิดประชารัฐ นั่นคือการจะทำสิ่งใดให้สำเร็จนั้นไม่สามารถทำได้ด้วยองค์กรใดองค์กรเดียว เพราะโลกกำลังเผชิญภัยคุกคามชุดใหม่ ที่เรียกว่า New Normal สิ่งเดียวที่จะรับมือกับ New Normal ได้คือแนวคิดประชารัฐ
องค์กรในอนาคตจะวางวิสัยทัศน์ พันธกิจแบบเดิมๆ คือมองระยะยาวไม่ได้เนื่องจากความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคตจะสูงขึ้น จึงควรมีความยืดหยุ่น สิ่งที่ผู้นำควรยืดถือ คือบทบาทของการเป็น Strategic Pragmatism คือเป็นผู้ชี้นำยุทธศาสตร์
“ผู้นำในอนาคตไม่ใช่ผู้ที่นำคนไปแข่งขันช่วงชิงกับผู้อื่น แต่เป็นผู้นำที่ต้องสามารถทำให้เกิดการประสานร่วมมือกับคนอื่นได้ เรียกว่า Collective Ledership ซึ่งนำมาสู่แนวคิดประชารัฐ”