เมื่อเร็วๆ นี้มีความเคลื่อนไหวที่ท้าทายต่อพัฒนาการด้านสังคมที่น่าสนใจมาก และมีข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ซึ่งสมควรได้รับการสนองตอบจากกระทรวงการคลังในไม่ช้าไม่นาน นวัตกรรมทางสังคมลักษณะใหม่ก็จะเกิดขึ้นเพื่อเอื้ออำนวยต่อการประยุกต์ “หลักการลงทุน” ในการช่วย “แก้ปัญหาสังคม”
ผลการวิจัยของ TDRI ที่ระบุว่าประเทศไทยมีการบริจาคโดยเฉลี่ยปีละ 70,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ย่อมมาจากคนไทยใจบุญที่ถือว่าได้บริจาคเป็นทานเพื่อสร้างบุญกุศลแก่ตัวเอง โดยไม่ได้คิดหรือหวังว่าแหล่งที่รับเงินไปนั้นจะไปใช้ทำประโยชน์อย่างถูกต้อง คุ้มค่าและโปร่งใสหรือไม่
การบริจาคแบบเก่า คนใจบุญพอใส่เงินลงตู้แล้วก็จบกัน.
การศึกษาวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสสส.ครั้งนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสังคมด้วยระบบกลไกที่เรียกว่า “การลงทุนด้านสังคม” (Social Investment) ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักการลงทุนมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ปัญหาสังคม
เมื่อใช้คำว่า “การลงทุน” ก็ต้องหวัง “ผลตอบแทน” แต่นี่ไม่ใช่หวังผลทางเศรษฐกิจหรือตัวเงินเป็นเป้าหมาย เพราะผลลัพธ์ (Outcome) ทางสังคมที่ต้องการ หมายถึง ประโยชน์สุขที่มุ่งสู่คนในชุมชนและการสร้างสังคมที่ดีขึ้น
ยิ่งกว่านั้นเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน “การลงทุนด้านสังคม” จึงมิได้คำนึงแค่ “ทุน” ที่เป็นตัว “เงิน” แต่ยังหมายรวมถึงทุนประเภทอื่นด้วย เช่น คนคือ “ทุนมนุษย์” องค์ความรู้ คือ “ทุนความรู้” และความสัมพันธ์ในการทำงานเชิงเครือข่ายของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ให้ผสมผสานและสร้างมูลค่าเพิ่มดีกว่าการแยกส่วนทำงานอย่างที่เคยเป็นมา
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนด้านสังคม ได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ 3 ประการ คือ
1.จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านสังคม (Social Investment Board) โดยออกกฎหมายในลักษณะคล้ายกับ Charities Act ของประเทศอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านสังคม เป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายขึ้นตรงต่อรัฐสภา และมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทางสังคมผสมกับผู้แทนจากกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ขึ้นทะเบียน กำกับดูแลและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรสาธารณกุศลที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการฯ ติดตามตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีกับองค์กรที่ทำผิดเงื่อนไขหลักข้างต้น
ทั้งนี้ องค์กรการกุศลที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการฯจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีในลักษณะเดียวกันกับองค์กรการกุศลในปัจจุบัน โดยจะต้องมีการจัดทำรายงานการเงินที่แสดงให้เห็นถึง 1)การบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ 2)การสร้างประโยชน์ให้กับสาธารณะ
2.การประยุกต์ใช้พันธบัตรเพื่อดูแลสังคม (Social Impact Bonds) เพื่อเพิ่มทรัพยากรและประสิทธิภาพให้กับโครงการลงทุนด้านสังคม โดยโครงการช่วยเหลือสังคมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อดำเนินการในตอนต้นจากนักลงทุน (Investors) ผ่านการซื้อพันธบัตรดังกล่าว โดยผู้ให้บริการด้านสังคม (Social Providers) จะเป็นผู้รับเงินทุนเพื่อนำไปดำเนินโครงการด้านสังคมกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง หลังจากนั้น จะมีการวัดผลลัพธ์การดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการด้านสังคมและหน่วยงานของรัฐบาล (Government Commissioner)
ในกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ในตอนต้น หน่วยงานของรัฐบาลจะจ่ายคืนเงินต้นพร้อมผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่ลงทุนซื้อพันธบัตรเพื่อดูแลโครงการทางสังคมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หน่วยงานรัฐบาลอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายคืนผลประโยชน์หรือแม้แต่เงินต้นให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของพันธบัตรที่มีการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้น
3.ส่งเสริมให้มีองค์กรตัวกลาง (Intermediary Organization) องค์กรจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถและหรือสนับสนุนทรัพยากรให้ผู้ให้บริการทางสังคมเพื่อบรรจุเป้าหมายอันนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม “องค์กรตัวกลาง” ที่ดำเนินการในต่างประเทศมีหลายประเภทจะมาจากภาคธุรกิจ ภาคสังคมหรือภาครัฐก็ได้ และจะมุ่งเน้นการทำงานเชิงประเด็นด้านเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ก็ได้ หรือเชิงความเชี่ยวชาญ เช่น ด้านพัฒนาแหล่งทุน ด้านอาสาสมัคร ด้านการจัดกระบวนการ ด้านสร้างเสริมศักยภาพ ด้านองค์ความรู้ ด้านการสื่อสารก็ได้
ปัจจุบันในเมืองไทยมีองค์กรตัวกลางและเวทีเชื่อมต่ออยู่บ้างแล้ว โดยเฉพาะในส่วนทุนทรัพย์ ขณะที่เริ่มมีการพัฒนากลไกและองค์กรเพื่อเป็นตัวกลางในด้านทุนมนุษย์ รวมทั้งมีองค์กรตัวกลางเฉพาะด้าน เช่น การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การจ้างงานคนพิการ (มูลนิธินวัตกรรมสังคม) การให้ทุนการศึกษา (มูลนิธิยุวพัฒน์) และการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม (กองทุนรวมคนไทยใจดี) เป็นต้น
“องค์กรตัวกลาง” จึงมีหน้าที่สำคัญในการเป็นห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงเพื่อสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพให้ “การลงทุนเพื่อสังคม” ดังนั้น จึงไม่ใช่เป็นแค่ “ข่าว” ให้เงินไหลผ่าน แต่เป็นการเชื่อมต่อวัตถุประสงค์ของ “นักลงทุนด้านสังคม” ไปสู่องค์กร “ผู้ให้บริการด้านสังคม” ที่ก่อให้เกิด “มูลค่าเพิ่ม”
จึงต้องการองค์กรตัวกลางที่เป็นมืออาชีพที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ ที่เข้าใจความต้องการของผู้ให้และผู้รับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใส
ข้อคิด..
ปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นในรัฐบาลยุคประเทศไทย 4.0 ที่จะต้องปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อใช้ความทันสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาและแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
“การลงทุนเพื่อสังคม” จึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญ ซึ่งใช้ทั้ง “มาตรการทางการคลังเพื่อการพัฒนาสังคม” โดยมีสิทธิการลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งจูงใจให้เกิดความร่วมมือทั้ง 1.นักบริจาคที่กลายเป็น “นักลงทุนด้านสังคม” ซึ่งมุ่งผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อสังคม 2.ผู้มีจิตอาสาและผู้ให้บริการด้านสังคม 3.ภาคราชการที่มีงบประมาณและกฎระเบียบเป็นเครื่องมือเอื้ออำนวยให้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม 4.องค์กรตัวกลาง ที่เป็นมืออาชีพในการสนับสนุนองค์กรที่ทำงานด้านสังคม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุนทางความรู้ ทุนทางการเงินและทุนมนุษย์
suwatmgr@gmail.com
ผลการวิจัยของ TDRI ที่ระบุว่าประเทศไทยมีการบริจาคโดยเฉลี่ยปีละ 70,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ย่อมมาจากคนไทยใจบุญที่ถือว่าได้บริจาคเป็นทานเพื่อสร้างบุญกุศลแก่ตัวเอง โดยไม่ได้คิดหรือหวังว่าแหล่งที่รับเงินไปนั้นจะไปใช้ทำประโยชน์อย่างถูกต้อง คุ้มค่าและโปร่งใสหรือไม่
การบริจาคแบบเก่า คนใจบุญพอใส่เงินลงตู้แล้วก็จบกัน.
การศึกษาวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสสส.ครั้งนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสังคมด้วยระบบกลไกที่เรียกว่า “การลงทุนด้านสังคม” (Social Investment) ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักการลงทุนมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ปัญหาสังคม
เมื่อใช้คำว่า “การลงทุน” ก็ต้องหวัง “ผลตอบแทน” แต่นี่ไม่ใช่หวังผลทางเศรษฐกิจหรือตัวเงินเป็นเป้าหมาย เพราะผลลัพธ์ (Outcome) ทางสังคมที่ต้องการ หมายถึง ประโยชน์สุขที่มุ่งสู่คนในชุมชนและการสร้างสังคมที่ดีขึ้น
ยิ่งกว่านั้นเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน “การลงทุนด้านสังคม” จึงมิได้คำนึงแค่ “ทุน” ที่เป็นตัว “เงิน” แต่ยังหมายรวมถึงทุนประเภทอื่นด้วย เช่น คนคือ “ทุนมนุษย์” องค์ความรู้ คือ “ทุนความรู้” และความสัมพันธ์ในการทำงานเชิงเครือข่ายของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ให้ผสมผสานและสร้างมูลค่าเพิ่มดีกว่าการแยกส่วนทำงานอย่างที่เคยเป็นมา
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนด้านสังคม ได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ 3 ประการ คือ
1.จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านสังคม (Social Investment Board) โดยออกกฎหมายในลักษณะคล้ายกับ Charities Act ของประเทศอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านสังคม เป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายขึ้นตรงต่อรัฐสภา และมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทางสังคมผสมกับผู้แทนจากกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ขึ้นทะเบียน กำกับดูแลและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรสาธารณกุศลที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการฯ ติดตามตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีกับองค์กรที่ทำผิดเงื่อนไขหลักข้างต้น
ทั้งนี้ องค์กรการกุศลที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการฯจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีในลักษณะเดียวกันกับองค์กรการกุศลในปัจจุบัน โดยจะต้องมีการจัดทำรายงานการเงินที่แสดงให้เห็นถึง 1)การบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ 2)การสร้างประโยชน์ให้กับสาธารณะ
2.การประยุกต์ใช้พันธบัตรเพื่อดูแลสังคม (Social Impact Bonds) เพื่อเพิ่มทรัพยากรและประสิทธิภาพให้กับโครงการลงทุนด้านสังคม โดยโครงการช่วยเหลือสังคมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อดำเนินการในตอนต้นจากนักลงทุน (Investors) ผ่านการซื้อพันธบัตรดังกล่าว โดยผู้ให้บริการด้านสังคม (Social Providers) จะเป็นผู้รับเงินทุนเพื่อนำไปดำเนินโครงการด้านสังคมกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง หลังจากนั้น จะมีการวัดผลลัพธ์การดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการด้านสังคมและหน่วยงานของรัฐบาล (Government Commissioner)
ในกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ในตอนต้น หน่วยงานของรัฐบาลจะจ่ายคืนเงินต้นพร้อมผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่ลงทุนซื้อพันธบัตรเพื่อดูแลโครงการทางสังคมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หน่วยงานรัฐบาลอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายคืนผลประโยชน์หรือแม้แต่เงินต้นให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของพันธบัตรที่มีการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้น
3.ส่งเสริมให้มีองค์กรตัวกลาง (Intermediary Organization) องค์กรจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถและหรือสนับสนุนทรัพยากรให้ผู้ให้บริการทางสังคมเพื่อบรรจุเป้าหมายอันนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม “องค์กรตัวกลาง” ที่ดำเนินการในต่างประเทศมีหลายประเภทจะมาจากภาคธุรกิจ ภาคสังคมหรือภาครัฐก็ได้ และจะมุ่งเน้นการทำงานเชิงประเด็นด้านเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ก็ได้ หรือเชิงความเชี่ยวชาญ เช่น ด้านพัฒนาแหล่งทุน ด้านอาสาสมัคร ด้านการจัดกระบวนการ ด้านสร้างเสริมศักยภาพ ด้านองค์ความรู้ ด้านการสื่อสารก็ได้
ปัจจุบันในเมืองไทยมีองค์กรตัวกลางและเวทีเชื่อมต่ออยู่บ้างแล้ว โดยเฉพาะในส่วนทุนทรัพย์ ขณะที่เริ่มมีการพัฒนากลไกและองค์กรเพื่อเป็นตัวกลางในด้านทุนมนุษย์ รวมทั้งมีองค์กรตัวกลางเฉพาะด้าน เช่น การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การจ้างงานคนพิการ (มูลนิธินวัตกรรมสังคม) การให้ทุนการศึกษา (มูลนิธิยุวพัฒน์) และการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม (กองทุนรวมคนไทยใจดี) เป็นต้น
“องค์กรตัวกลาง” จึงมีหน้าที่สำคัญในการเป็นห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงเพื่อสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพให้ “การลงทุนเพื่อสังคม” ดังนั้น จึงไม่ใช่เป็นแค่ “ข่าว” ให้เงินไหลผ่าน แต่เป็นการเชื่อมต่อวัตถุประสงค์ของ “นักลงทุนด้านสังคม” ไปสู่องค์กร “ผู้ให้บริการด้านสังคม” ที่ก่อให้เกิด “มูลค่าเพิ่ม”
จึงต้องการองค์กรตัวกลางที่เป็นมืออาชีพที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ ที่เข้าใจความต้องการของผู้ให้และผู้รับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใส
ข้อคิด..
ปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นในรัฐบาลยุคประเทศไทย 4.0 ที่จะต้องปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อใช้ความทันสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาและแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
“การลงทุนเพื่อสังคม” จึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญ ซึ่งใช้ทั้ง “มาตรการทางการคลังเพื่อการพัฒนาสังคม” โดยมีสิทธิการลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งจูงใจให้เกิดความร่วมมือทั้ง 1.นักบริจาคที่กลายเป็น “นักลงทุนด้านสังคม” ซึ่งมุ่งผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อสังคม 2.ผู้มีจิตอาสาและผู้ให้บริการด้านสังคม 3.ภาคราชการที่มีงบประมาณและกฎระเบียบเป็นเครื่องมือเอื้ออำนวยให้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม 4.องค์กรตัวกลาง ที่เป็นมืออาชีพในการสนับสนุนองค์กรที่ทำงานด้านสังคม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุนทางความรู้ ทุนทางการเงินและทุนมนุษย์
suwatmgr@gmail.com