xs
xsm
sm
md
lg

มายาฮอลลีวูด ช็อกโลก ปรับตัวแสดงสัญลักษณ์กรีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ตามรายงานการศึกษาของ Variety เปิดเผยว่า วงการมายาฮอลลีวูด หรืออาณาจักรเอนเตอร์เทนเมนต์ใหญ่ที่สุดของโลก ได้เข้าร่วมกรอบแนวทางการพัฒนาธุรกิจตามแนวกรีน สร้างความน่าประหลาดใจให้กับนักวิชาการต่างๆ เนื่องจากเคยเชื่อว่าธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่กรอบแนวทางของกรีนได้ง่ายดายเหมือนกับภาคอุตสาหกรรมทั่วไป


การก้าวกระโดดสู่แนวทางกรีนของธุรกิจภาพยนตร์และรายการทีวีของฮอลลีวูด คือปรากฎการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และสร้างความหวังให้กับนักรณรงค์กรีน โดยเฉพาะในเชิงสัญลักษณ์วงการมายาโลก จะเป็นการบุกเบิกให้ธุรกิจมายาอื่นๆ ทั่วโลกก้าวมาสู่แนวทางกรีนด้วยในอนาคตอันใกล้
สิ่งที่ปรากฏในเชิงประจักษ์จนสามารถตรวจจับได้ชัดเจนในเรื่องการใส่ใจต่อแนวทางกรีนของผู้ประกอบการวงการยามาของฮอลลีวูด ได้ชี้ว่า

ประการแรก อุตสาหกรรมภาพยนตร์และการจัดรายการทีวีต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือให้ปัญหาใหญ่ของโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจนโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้วงการเอนเตอร์เทนเมนต์ไม่ได้แปลกแยกจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นและภาครัฐทั่วโลกที่ใส่ใจเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องแล้ว
ประการที่สอง วงการมายาของฮอลลีวูด มีความเชื่อเช่นเดียวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นเหมือนกันว่า การปรับโครงสร้างและวิธีดำเนินงานทางธุรกิจมาสู่กรีนมากขึ้น จะช่วยประหยัดต้นทุนดำเนินงานได้เช่นเดียวกับที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้บทสรุปและผลลัพธ์ที่ชัดเจนมาแล้ว ซึ่งหากเป็นไปได้จริงก็จะเป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการของผู้ประกอบการในการสร้างภาพยนตร์และรายการทีวีในฮอลลีวูดเอง
ประการที่สาม ได้เกิดคำใหม่ในวงการฮอลลีวูดที่สะท้อนการมุ่งมั่นไปสู่แนวทางกรีนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างเช่น Sustainability Director ที่กลายเป็นตำแหน่งผู้กำกับอีกสายงานหนึ่งในการผลิตรายการทีวีและภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ซึ่งตำแหน่งนี้ไม่เคยมีมาก่อนเมื่อปีสองปีก่อนหน้านี้

ประการที่สี่ ในการจัดงานของวงการภาพยนตร์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ชื่อ Film Festival ที่แวนคูเวอร์ มีผู้บริหารระดับสูงที่มาจากสตูดิโอชั้นนำของฮอลลีวูด 4 คนเป็นอย่างน้อยมารวมตัวกันในงานนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวทางที่เป็นไปได้ที่แต่ละสตูดิโอได้ดำเนินการ เพื่อให้เกิดการผลิตภาพยนตร์หรือรายการทีวีที่เรียกว่า Sustainable Production
เวทีการหารือและแลกเปลี่ยนแบ่งปันดังกล่าวนี้เอง ที่ทำให้เกิดคำหลักใหม่ในวงการดังกล่าวแพร่หลายออกไป โดยผู้ที่เป็นวิทยากรหลักในเวทีนี้คือ Christ Carter ผู้สร้างผลงานต้นแบบที่ชื่อ X-Files โดยใช้เวลาในการยกเวทีเพื่อเรื่องนี้ตลอด 1 วันเต็ม
ประการที่ห้า โมเดลของ Sustainable Production ในวงการมายาของฮอลลีวูดที่เกิดขึ้นที่แวนคูเวอร์นี้เอง ได้กลายเป็นโมเดลการผลิตภาพยนตร์และรายการทีวีแบบกรีนของทวีปอเมริกาเหนือที่มีการแทรกเนื้อหา บทภาพยนตร์ และสิ่งที่ใช้ในการผลิตที่เป็นไปตามแนวคิดของวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ และ Zero waste ที่ทำให้อเมริกากลายเป็นต้นแบบของโลกในด้าน Green Film and TV
ประการที่หก แนวคิดหลักของ Sustainable Production ในวงการมายาของฮอลลีวูด คือ การตระหนักว่าการผลิตรายการภาพยนตร์หรือรายการทีวีเป็นบริการประเภทฟุ่มเฟือย ที่ต้องไม่สร้างความเสียหายต่อโลก สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผลดำเนินงานในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีให้กับผู้ชมควบคู่กันไปด้วย โดยสิ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ การใช้พลังงานที่เป็นทางเลือกเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นนั่นเอง
ประการที่เจ็ด ตัวอย่างของความสำเร็จของภาพยนตร์ X-File คือ
- การปรับปรุงการผลิตให้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ไม่น้อยกว่า 80% ของวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในการผลิต และน่าจะเป็นการผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้โฟมที่เป็นประเภทรีไซเคิล ที่ไม่มีการทิ้งวัสดุที่ใช้แล้วลงสู่พื้นดินเพิ่มเติมอีกเลย
- การผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ยังใช้พลังงานไบโอและไบโอดีเซลมากเท่าที่จะใช้ได้ตลอดการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้
- การใช้ภาชนะระหว่างถ่ายทำเป็นประเภทรีไซเคิลทั้งหมด แทนโฟมที่ใช้แล้วทิ้งเหมือนเดิม
- ใช้การยืมอุปกรณ์ วัสดุบางอย่างมาจากที่อื่นแทนที่จะซื้อใหม่ สร้างความสิ้นเปลืองและกระทบต่อสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม หรือคิดแต่แรกเริ่มดำเนินงานว่าจะนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้แล้วไปบริจาคเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการใช้ที่ยั่งยืนแทนการทิ้งลงดิน
ส่วนกรณีของ NBC Studio ก็ประสบความสำเร็จในการใช้หลอดไฟ LED การใช้พลังงานโซลาร์แทนพลังงานจากน้ำมัน และทำการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Mac Tech ของตนเองขึ้น และใช้ทดแทนรูปแบบการผลิตเดิมถึง 3 เท่า และคาดว่าจะนำมาตรฐานกลางที่ใช้ไปใช้ในอนาคต
ผู้ผลิตได้ชี้ว่าการพยายามใช้แนวทางกรีนในการผลิต X-Files ทำให้การผลิตครั้งนั้นสามารถประหยัดต้นทุนผลิตได้หมื่นดอลลาร์
แม้ว่าการพยายามปรับเปลี่ยนโมเดลการผลิตภาพยนตร์และรายการทีวีจากวิถีทางเดิมๆ สู่แนวทางใหม่จะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น แต่การที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนขยะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เป็นความภาคภูมิใจที่ทำให้คนที่เกี่ยวข้องทุกคนหายเหนื่อย
ประการที่แปด การเอาจริงเอาจังของการผลิตภาพยนตร์แนวกรีน คือการใส่ใจศึกษาว่าอะไรบ้างที่กลายเป็นขยะและสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อจบสิ้นการผลิตแล้ว เพื่อนำมาดัดแปลงสู่การใช้วัสดุที่รีไซเคิลหรือใช้ซ้ำ ใช้ลดลงได้ตามหลัก 3 R;s (Recycle, Reuse, Reduce) ซึ่งต้องมาจากการยกระดับการดำเนินงานไปเป็นระดับนโยบายการผลิตของสตูดิโอด้วย ไม่ใช่แค่ทำเป็นรายเรื่อง รายโครงการเท่านั้น
การปรับเปลี่ยนตั้งแต่นโยบายถึงแนวทางปฏิบัติ และคิดก่อนการสร้างโครงการในหมู่สตูดิโอชั้นนำทั้งหลายของฮอลลีวูด ไม่เฉพาะที่กล่าวมา รวมถึงยูนิเวอร์แซลและวอเนอร์บราเธอร์ ทำให้แนวคิดนี้เป็น CSR As Process ด้วย แทนที่จะเป็นเพียง CSR After Process อย่างที่ใช้กันทั่วไป
กำลังโหลดความคิดเห็น