น่าสังเกตว่า กระแสโลกธุรกิจทุกวันนี้เคลื่อนไหวอยู่ภายใต้ 2 บริบท คือ ขณะที่องค์กรที่ใฝ่หาความเจริญเติบโตเพื่อมุ่งสู่ “ความเป็นเลิศเชิงธุรกิจ” และการเป็นผู้ชนะในเกมแข่งขัน ก็ตื่นตัวในการพัฒนาองค์กรไปสู่ “ความยั่งยืน”
ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการหรือ CSR (Corporate Social Responsibility) จึงเป็นหลักคิดและแนวปฏิบัติที่องค์กรชั้นนำของโลกตระหนักในความสำคัญและผนึกเข้ากับแนวการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ล้วนคาดหวังและต้องการเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ “เก่ง” และ “ดี”
จึงมีคำกล่าวสรุปว่า “กิจการไม่สามารถดำรงความยั่งยืนได้ หากปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม"
ทั้งนี้ เพราะการดำเนินธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็กในขั้นตอนต่างๆ ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบทั้งด้านดีและด้านเสีย ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้
แต่ในสภาพสังคมและเทคโนโลยีของโลก ณ เวลาปัจจุบันจากข้อมูลข่าวสารที่สังคมผู้บริโภคและนักลงทุนได้มีการรับรู้ เรียนรู้ และเปรียบเทียบพฤติการณ์ของผู้บริหารกิจการต่างๆ ว่าได้ส่งผลในทาง “ทำลาย” หรือ “สร้างสรรค์” อย่างไร เพียงไร
นี่เป็นเหตุให้เกิดการผลักดันกิจการบริษัทจดทะเบียนได้มีการทำรายงาน CSR หรือรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report) โดยอิงมาตรฐานการรายงานระดับสากล (GRI) และถึงขั้นที่มีการจัดการประกวดเพื่อยกย่องกิจการที่ทำรายงานที่มีคุณภาพ ที่เป็นการสื่อสารข้อมูลการดำเนินธุรกิจด้วยจิตสำนึก CSR
โดยเฉพาะเป็นการรายงานเชิงกระบวนการ (Process) มากกว่าการทำเป็นโครงการ (Project) ดังที่สถาบันไทยพัฒน์ได้เผยแพร่แนวคิดและจัดการอบรมเพื่อหวังให้องค์กรที่ใฝ่พัฒนาเหล่านี้สามารถนำกระบวนการจัดทำรายงานไปประยุกต์เป็นเครื่องมือ (Mean) ในการขับเคลื่อนงาน CSR ได้ตลอดปี
เรียกว่าไม่ให้คิดว่าการทำรายงานเป็นจุดหมาย (End) หรือเป็นผลงานแค่เอกสารรายงานที่สรุปจากทั้งปีและเผยแพร่ตอนต้นปีถัดไป
ด้วยเหตุนี้ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงส่งเสริมให้กิจการธุรกิจไม่ว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือองค์กรธุรกิจทั่วไป ใฝ่ใจและมุ่งมั่นพัฒนาการทำธุรกิจสู่ความยั่งยืนซึ่งต้องคำนึงถึงมิติ ESG คือมีผลดี 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการมีธรรมาภิบาล (Governance)
พัฒนาการล่าสุดที่น่าจับตาก็คือ โครงการส่งเสริมให้กิจการที่ทำรายงานเพื่อความยั่งยืนหรือ SD Report อยู่แล้ว ให้ใช้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (SDGs) ที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติรับรองโดยผู้นำ 193 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจประเทศไทยมีส่วนร่วมในการทำให้บรรลุเป้าหมาย 17 หัวข้อภายใน 15 ปี จากนี้หวังว่าโลกจะน่าอยู่ขึ้น
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ริเริ่มโครงการจัดทำ ดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร (Corporate SDG Index) โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจมีกรอบในการใช้ปรับแนวการดำเนินงานทางธุรกิจ ในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีส่วนในการตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ระบุใน SDG ทั้ง 17 ข้อ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมและไม่มากก็น้อยได้อย่างเป็นระบบ และอยู่บนบรรทัดฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “ดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร หรือ Corporate SDG Index จะช่วยเปิดมุมมองให้ภาคเอกชนได้เห็นภูมิทัศน์ใหม่ทางธุรกิจ จากการแปลงเป้าหมายโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นโจทย์ในการดำเนินงาน ที่สามารถสร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจไปพร้อมๆ กัน”
ขั้นตอนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคเอกชน เริ่มต้นจากการพิจารณาสิ่งที่องค์กรตนเองได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยการประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจึงค่อยพิจารณาเพิ่มเติมการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องหรือตอบสนองต่อ SDG ในข้อที่มีการดำเนินการบ้างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้เต็มที่ และในข้อที่ยังมิได้มีการดำเนินการตามลำดับ
“ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่งจะต้องดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทั้ง 17 ข้อ แต่กิจการต้องสามารถเลือกเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง” ดร.พิพัฒน์กล่าว
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Partner ขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล หรือ GRI ได้เสนอแนะรูปแบบการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับ SDG ในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืน ที่เรียกว่า “Enhanced Sustainability Report” เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDG ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่านช่องทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่เพิ่มภาระการรายงานแยกส่วนจากรายงานแห่งความยั่งยืนฉบับเดิม
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์จึงได้ส่งเสริมการรับรู้ด้วยการมอบเกียรติบัตร (Recognition) ให้กิจการในฐานะองค์กรที่เป็นผู้ริเริ่มจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Report) อิงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goal (SDGs) 17 ข้อ ที่สหประชาชาติประกาศเป็นเป้าหมายโลก
องค์กรที่ได้รับเกียรติบัตร SDG-Enhanced Sustainability Report ปี 2559 ได้แก่ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, บมจ.ไทยคม, ทิสโก้ ไฟแนลเชียล กรุ๊ป, บมจ.บางจากปิโตรเลียม, บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และธนาคารออมสิน
แต่จากเกณฑ์การประเมิน SDG-Enhanced Sustainability Report มีอยู่ 5 ระดับ เริ่มจากระดับ 1 ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรต้องการตอบสนอง ระดับที่ 3 การกำหนดเป้าประสงค์ที่องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 4 การผนวกการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร และระดับที่ 5 การสื่อสารและการรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดังนั้น รายงานเพื่อความยั่งยืนฉบับใหม่ของกิจการต่างๆ ที่จะออกเผยแพร่ประมาณมีนาคม 2560 จะมีข้อมูลมากขึ้น ก็จะมีการประเมินคุณภาพได้เต็มที่กันทีเดียว
suwat@gmail.com
ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการหรือ CSR (Corporate Social Responsibility) จึงเป็นหลักคิดและแนวปฏิบัติที่องค์กรชั้นนำของโลกตระหนักในความสำคัญและผนึกเข้ากับแนวการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ล้วนคาดหวังและต้องการเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ “เก่ง” และ “ดี”
จึงมีคำกล่าวสรุปว่า “กิจการไม่สามารถดำรงความยั่งยืนได้ หากปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม"
ทั้งนี้ เพราะการดำเนินธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็กในขั้นตอนต่างๆ ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบทั้งด้านดีและด้านเสีย ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้
แต่ในสภาพสังคมและเทคโนโลยีของโลก ณ เวลาปัจจุบันจากข้อมูลข่าวสารที่สังคมผู้บริโภคและนักลงทุนได้มีการรับรู้ เรียนรู้ และเปรียบเทียบพฤติการณ์ของผู้บริหารกิจการต่างๆ ว่าได้ส่งผลในทาง “ทำลาย” หรือ “สร้างสรรค์” อย่างไร เพียงไร
นี่เป็นเหตุให้เกิดการผลักดันกิจการบริษัทจดทะเบียนได้มีการทำรายงาน CSR หรือรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report) โดยอิงมาตรฐานการรายงานระดับสากล (GRI) และถึงขั้นที่มีการจัดการประกวดเพื่อยกย่องกิจการที่ทำรายงานที่มีคุณภาพ ที่เป็นการสื่อสารข้อมูลการดำเนินธุรกิจด้วยจิตสำนึก CSR
โดยเฉพาะเป็นการรายงานเชิงกระบวนการ (Process) มากกว่าการทำเป็นโครงการ (Project) ดังที่สถาบันไทยพัฒน์ได้เผยแพร่แนวคิดและจัดการอบรมเพื่อหวังให้องค์กรที่ใฝ่พัฒนาเหล่านี้สามารถนำกระบวนการจัดทำรายงานไปประยุกต์เป็นเครื่องมือ (Mean) ในการขับเคลื่อนงาน CSR ได้ตลอดปี
เรียกว่าไม่ให้คิดว่าการทำรายงานเป็นจุดหมาย (End) หรือเป็นผลงานแค่เอกสารรายงานที่สรุปจากทั้งปีและเผยแพร่ตอนต้นปีถัดไป
ด้วยเหตุนี้ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงส่งเสริมให้กิจการธุรกิจไม่ว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือองค์กรธุรกิจทั่วไป ใฝ่ใจและมุ่งมั่นพัฒนาการทำธุรกิจสู่ความยั่งยืนซึ่งต้องคำนึงถึงมิติ ESG คือมีผลดี 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการมีธรรมาภิบาล (Governance)
พัฒนาการล่าสุดที่น่าจับตาก็คือ โครงการส่งเสริมให้กิจการที่ทำรายงานเพื่อความยั่งยืนหรือ SD Report อยู่แล้ว ให้ใช้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (SDGs) ที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติรับรองโดยผู้นำ 193 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจประเทศไทยมีส่วนร่วมในการทำให้บรรลุเป้าหมาย 17 หัวข้อภายใน 15 ปี จากนี้หวังว่าโลกจะน่าอยู่ขึ้น
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ริเริ่มโครงการจัดทำ ดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร (Corporate SDG Index) โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจมีกรอบในการใช้ปรับแนวการดำเนินงานทางธุรกิจ ในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีส่วนในการตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ระบุใน SDG ทั้ง 17 ข้อ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมและไม่มากก็น้อยได้อย่างเป็นระบบ และอยู่บนบรรทัดฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “ดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร หรือ Corporate SDG Index จะช่วยเปิดมุมมองให้ภาคเอกชนได้เห็นภูมิทัศน์ใหม่ทางธุรกิจ จากการแปลงเป้าหมายโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นโจทย์ในการดำเนินงาน ที่สามารถสร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจไปพร้อมๆ กัน”
ขั้นตอนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคเอกชน เริ่มต้นจากการพิจารณาสิ่งที่องค์กรตนเองได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยการประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจึงค่อยพิจารณาเพิ่มเติมการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องหรือตอบสนองต่อ SDG ในข้อที่มีการดำเนินการบ้างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้เต็มที่ และในข้อที่ยังมิได้มีการดำเนินการตามลำดับ
“ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่งจะต้องดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทั้ง 17 ข้อ แต่กิจการต้องสามารถเลือกเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง” ดร.พิพัฒน์กล่าว
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Partner ขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล หรือ GRI ได้เสนอแนะรูปแบบการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับ SDG ในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืน ที่เรียกว่า “Enhanced Sustainability Report” เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDG ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่านช่องทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่เพิ่มภาระการรายงานแยกส่วนจากรายงานแห่งความยั่งยืนฉบับเดิม
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์จึงได้ส่งเสริมการรับรู้ด้วยการมอบเกียรติบัตร (Recognition) ให้กิจการในฐานะองค์กรที่เป็นผู้ริเริ่มจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Report) อิงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goal (SDGs) 17 ข้อ ที่สหประชาชาติประกาศเป็นเป้าหมายโลก
องค์กรที่ได้รับเกียรติบัตร SDG-Enhanced Sustainability Report ปี 2559 ได้แก่ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, บมจ.ไทยคม, ทิสโก้ ไฟแนลเชียล กรุ๊ป, บมจ.บางจากปิโตรเลียม, บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และธนาคารออมสิน
แต่จากเกณฑ์การประเมิน SDG-Enhanced Sustainability Report มีอยู่ 5 ระดับ เริ่มจากระดับ 1 ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรต้องการตอบสนอง ระดับที่ 3 การกำหนดเป้าประสงค์ที่องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 4 การผนวกการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร และระดับที่ 5 การสื่อสารและการรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดังนั้น รายงานเพื่อความยั่งยืนฉบับใหม่ของกิจการต่างๆ ที่จะออกเผยแพร่ประมาณมีนาคม 2560 จะมีข้อมูลมากขึ้น ก็จะมีการประเมินคุณภาพได้เต็มที่กันทีเดียว
suwat@gmail.com