ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกถึงความสูญเสียเพราะความรุนแรงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 80 ปี ที่มีความสั่นสะเทือนระดับ 7.8 และยังมีแผ่นดินไหวแบบอาฟเตอร์ช็อคเป็นระลอกอย่างต่อเนื่อง
ความเสียหายครั้งนี้มีทั้งผู้เสียชีวิตกว่า 6,200 คน และบาดเจ็บกว่า 10,000 ราย
ความเคลื่อนไหวของภาครัฐและเอกชนก็ได้แสดงน้ำใจในการบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ชาวเนปาลกันอย่างกว้างขวาง
มีตัวอย่างที่น่าชื่นชมในการดำเนินงานช่วยเหลือเรื่องนี้ เริ่มโดยภาครัฐได้เปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล เพื่อรับบริจาคชื่อบัญชี “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” ณ สิ้นวันที่ 11 พฤษภาคม ศกนี้ มียอดบริจาคแล้ว 165 ล้านบาท และที่สร้างความประทับใจในระดับโลกก็คือ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงสาธารณะสุข ได้ส่งทีมแพทย์ไปเนปาลแล้ว 2 ผลัด แล้วยังจัดส่งส้วมสนาม เครื่องกรองน้ำ ยารักษาโรคเด็ก และชุดทำแผล ไปสมทบกับทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลสนามที่นั่น
นี่เป็นการแสดงออกขององค์กรนำระดับชาติที่ให้การช่วยเหลือสังคมของประเทศที่เดือดร้อนแสนสาหัสในเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะทางการแพทย์ที่พบว่าชาวบ้านที่ประสบภัยธรรมชาติมีแนวโน้มป่วย อุจจาระร่วงและแผลติดเชื้อ
ขณะที่ภาคเอกชนในไทยก็มีหลายองค์กรได้มีบทบาทร่วมสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เนปาลครั้งนี้ในหลายลักษณะ
เทใจดอทคอม (www.taejai.com) เป็นเว็บไซต์ระดมทุนเพื่อสังคมผ่านโลกออนไลน์ เป็นแนวทางที่เรียกว่า crowd-funding ซึ่งกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก “เว็บเทใจ” เป็นเว็บที่เกิดขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่อยากช่วยเหลือเพราะต้องการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นผ่านโครงการต่างๆ
โครงการเพื่อสังคมในเว็บเทใจมีหลายแนวทาง ตั้งแต่การระดมทุนเพื่อโครงการกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่าร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร การสนับสนุนให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากเกษตรเคมีมาเป็นอินทรีย์และเข้าไปทำการตลาดให้ โครงการทำ Wheel-Chair ให้กับสุนัขพิการ โครงการออกแบบอุปกรณ์การเรียนวาดรูปสำหรับเด็กตาบอด ฯลฯ ซึ่งเว็บเทใจดำเนินการโดยสถาบัน Change Fusion ร่วมกับมูลนิธิเพื่อคนไทยและภาคีอีกหลายกลุ่ม เปิดมากว่า 2 ปีระดมทุนไปเกือบ 6 ล้านบาทให้เกือบร้อยโครงการ โดยรับบริจาคจากผู้คนในโลกออนไลน์กว่า 2 พันคน
ในสถานการณ์วิกฤตการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาลนั้น เว็บเทใจได้ร่วมมือกับสถาบัน Change Fusion ในประเทศเนปาล ในการพัฒนาโครงการที่เข้าไปช่วยเหลือหมู่บ้านหนึ่งบนภูเขานอกเขตเมืองที่บ้านจำนวนมากถล่มราบเป็นหน้ากลอง เพราะสร้างด้วยวัสดุเช่นอิฐและดินจึงไม่สามารถทนต่อแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ได้
ที่เลือกเพียงหนึ่งหมู่บ้านนี้เพราะต้องการให้การช่วยเหลือสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ ครบวงจร ตั้งแต่การช่วยเหลือระยะสั้น เช่น ปัจจัยจำเป็นต่างๆ อาหาร ยารักษาโรค หน้ากากป้องกันฝุ่นและมลพิษ ผ้าห่ม ผ้าอนามัย ฯลฯ ไปจึงถึงการสร้างบ้านชั่วคราว (Shelter) ให้กับสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบกว่า 110 ครัวเรือน โดยเป็นบ้านชั่วคราวที่ทำจากสังกะสีครึ่งวงกลมที่ออกแบบสำหรับสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ที่สามารถป้องกันลมและฝนรุนแรงเพราะในประเทศเนปาลกำลังเข้าสู่ฤดูมรสุม
เมื่อจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยได้เรียบร้อยก็จะเข้าไปสู่เรื่องการฟื้นฟูอาชีพโดยเฉพาะในเรื่องการทำการเกษตรเพื่อการเลี้ยงตัวเองให้รอด เพราะหากไม่สามารถปลูกพืชได้ทันช่วงฤดูมรสุมนี้ จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การช่วยเหลือให้สามารถปลูกพืชได้จึงมีความสำคัญมาก โดยจะเน้นพืชเช่น ข้าว มันฝรั่ง และผักต่างๆ
ในเวลาสองอาทิตย์ที่ผ่านมา โครงการนี้ระดมทุนไปได้แล้ว 878,758 บาท จากผู้คนกว่าสี่ร้อยคน โดยเป้าหมายระดมทุนให้ได้อย่างน้อยในระยะแรกนี้ 1 ล้านบาท จะทยอยโอนเงินไปเพื่อการช่วยเหลือและสร้างที่อยู่อาศัยมาตลอด จนปัจจุบันสามารถสร้างบ้านชั่วคราวได้แล้ว 30 หลังจากที่กำหนดไว้ 110 หลัง และดูแลสภาวะอนามัยของพื้นที่ให้ถูกหลักสุขอนามัย เพราะมีหลายพื้นที่รอบๆซึ่งเริ่มมีปัญหาโรคระบาดจากความไม่สะอาด
ขณะเดียวกัน เราได้เห็นธุรกิจชั้นนำ มีการร่วมบริจาคเงิน สิ่งของ หรือบริการเพื่อสนับสนุน เช่น บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ และสุขภาพ เพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ เป็นการคุ้มครองทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ 63 คน ที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ ด้วยทุนประกันรวม 63 ล้านบาท นับเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บริจาคเงิน ยา และผ้าห่ม มูลค่ารวม 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ มอบเงินช่วย 3 ล้านบาท บมจ.วิริยะประกันภัย บริจาค 1 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับนักศึกษาสถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ นำโปรตีนเกษตร 300 กก. และเงินบริจาคอีก 1,659,420 บาท ผ่านประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เนปาล
ส่วน ธนาคารกรุงเทพ เปิดบัญชีกระแสรายวัน “ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนปาล” เลขที่ 101-3-45555-3 รองรับเงินบริจาค ผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร โดยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำรายการโอนเงินข้ามเขตในบัญชีดังกล่าว
พร้อมกับเชิญชวนลูกค้าบัตรเครดิต ให้เปลี่ยนคะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนน แทนเงินบริจาค 100 บาท โดยธนาคารกรุงเทพจะสมทบทุนเพิ่มอีก 100 บาท หรือเท่ามูลค่าเงินบริจาค (ธนาคารได้เตรียมเงินบริจาคสมทบไว้ 2 ล้านบาท)
ขณะที่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษา, iCARE องค์กรสร้างสรรค์เพื่อสังคม และ Asian Coalition for Housing Rights (ACHR)จัดโครงการ “Giving Hands to Nepal” เพื่อระดมทุนจัดซื้อและส่งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในการผลิดกระแสไฟฟ้าพร้อมสร้างศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือ (Community Center) รวมไปถึงสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ยากและทำให้พี่น้องชาวเนปาลได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
การร่วมบริจาคเงินในโครงการ “Giving Hands to Nepal” สามารถโอนผ่านธนาคารกสิกรไทย สาขากล้วยน้ำไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธรักษาเพื่อผู้ประสบภัยเนปาล เลขที่บัญชี 712-2-55093-6 และ ธนาคารกรุงเทพ สาขาตรอกจันทร์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธรักษาเพื่อผู้ประสบภัยเนปาล เลขที่บัญชี 133-3-17477-7 หรือสามารถบริจาคโดยตรงผ่านทางคุณฉันทนา สนานคุณ กับเจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทธรักษา โทร 02 742 9141 ต่อ 3403 มือถือ 083 989 5845
ข้อคิด...
ในวิกฤตการณ์นี้ เราได้เห็นบทบาทองค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมสังคม ผนวกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้มีจิตเป็นกุศลในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้รวมเร็วขึ้น
การบริจาคช่วยผู้ประสบเคราะห์กรรมในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสร้างกุศลด้วย “การให้” ก็ยังได้ “สิทธิ” ลดหย่อนภาษี เงินภาษีที่คุณต้องจ่ายอยู่ทุกปี สามารถเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคให้กับโครงการเพื่อสังคมที่คุณชอบได้โดยตรง จริงอยู่ว่าเงินภาษีที่จ่ายให้กับรัฐนั้นก็หมุนกลับมาเป็นเงินพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ แต่ถ้าคุณอยากจะพลิกบทบาท จากการให้แบบ passive (การให้อ้อมๆ ผ่านเงินภาษี) มาเป็นการให้ที่ active ขึ้น ด้วยการเลือกที่จะใช้ 10% ของเงินได้ มาบริจาคให้กับองค์กรที่คุณอยากจะช่วย เปลี่ยนความรู้สึกจาก “ภาระหน้าที่” มาเป็น “การให้” ที่สบายใจ สังคม สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ เพราะคุณเลือกที่จะให้เอง
การบริจาคผ่านเทใจ.com สามารถขอใบรับเงินเพื่อนำไปหักภาษีได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเทใจ ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อองค์กรที่นำยอดบริจาคไปหักภาษีได้ของกระทรวงการคลัง
suwatmgr@gmail.com
ความเสียหายครั้งนี้มีทั้งผู้เสียชีวิตกว่า 6,200 คน และบาดเจ็บกว่า 10,000 ราย
ความเคลื่อนไหวของภาครัฐและเอกชนก็ได้แสดงน้ำใจในการบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ชาวเนปาลกันอย่างกว้างขวาง
มีตัวอย่างที่น่าชื่นชมในการดำเนินงานช่วยเหลือเรื่องนี้ เริ่มโดยภาครัฐได้เปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล เพื่อรับบริจาคชื่อบัญชี “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” ณ สิ้นวันที่ 11 พฤษภาคม ศกนี้ มียอดบริจาคแล้ว 165 ล้านบาท และที่สร้างความประทับใจในระดับโลกก็คือ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงสาธารณะสุข ได้ส่งทีมแพทย์ไปเนปาลแล้ว 2 ผลัด แล้วยังจัดส่งส้วมสนาม เครื่องกรองน้ำ ยารักษาโรคเด็ก และชุดทำแผล ไปสมทบกับทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลสนามที่นั่น
นี่เป็นการแสดงออกขององค์กรนำระดับชาติที่ให้การช่วยเหลือสังคมของประเทศที่เดือดร้อนแสนสาหัสในเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะทางการแพทย์ที่พบว่าชาวบ้านที่ประสบภัยธรรมชาติมีแนวโน้มป่วย อุจจาระร่วงและแผลติดเชื้อ
ขณะที่ภาคเอกชนในไทยก็มีหลายองค์กรได้มีบทบาทร่วมสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เนปาลครั้งนี้ในหลายลักษณะ
เทใจดอทคอม (www.taejai.com) เป็นเว็บไซต์ระดมทุนเพื่อสังคมผ่านโลกออนไลน์ เป็นแนวทางที่เรียกว่า crowd-funding ซึ่งกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก “เว็บเทใจ” เป็นเว็บที่เกิดขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่อยากช่วยเหลือเพราะต้องการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นผ่านโครงการต่างๆ
โครงการเพื่อสังคมในเว็บเทใจมีหลายแนวทาง ตั้งแต่การระดมทุนเพื่อโครงการกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่าร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร การสนับสนุนให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากเกษตรเคมีมาเป็นอินทรีย์และเข้าไปทำการตลาดให้ โครงการทำ Wheel-Chair ให้กับสุนัขพิการ โครงการออกแบบอุปกรณ์การเรียนวาดรูปสำหรับเด็กตาบอด ฯลฯ ซึ่งเว็บเทใจดำเนินการโดยสถาบัน Change Fusion ร่วมกับมูลนิธิเพื่อคนไทยและภาคีอีกหลายกลุ่ม เปิดมากว่า 2 ปีระดมทุนไปเกือบ 6 ล้านบาทให้เกือบร้อยโครงการ โดยรับบริจาคจากผู้คนในโลกออนไลน์กว่า 2 พันคน
ในสถานการณ์วิกฤตการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาลนั้น เว็บเทใจได้ร่วมมือกับสถาบัน Change Fusion ในประเทศเนปาล ในการพัฒนาโครงการที่เข้าไปช่วยเหลือหมู่บ้านหนึ่งบนภูเขานอกเขตเมืองที่บ้านจำนวนมากถล่มราบเป็นหน้ากลอง เพราะสร้างด้วยวัสดุเช่นอิฐและดินจึงไม่สามารถทนต่อแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ได้
ที่เลือกเพียงหนึ่งหมู่บ้านนี้เพราะต้องการให้การช่วยเหลือสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ ครบวงจร ตั้งแต่การช่วยเหลือระยะสั้น เช่น ปัจจัยจำเป็นต่างๆ อาหาร ยารักษาโรค หน้ากากป้องกันฝุ่นและมลพิษ ผ้าห่ม ผ้าอนามัย ฯลฯ ไปจึงถึงการสร้างบ้านชั่วคราว (Shelter) ให้กับสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบกว่า 110 ครัวเรือน โดยเป็นบ้านชั่วคราวที่ทำจากสังกะสีครึ่งวงกลมที่ออกแบบสำหรับสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ที่สามารถป้องกันลมและฝนรุนแรงเพราะในประเทศเนปาลกำลังเข้าสู่ฤดูมรสุม
เมื่อจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยได้เรียบร้อยก็จะเข้าไปสู่เรื่องการฟื้นฟูอาชีพโดยเฉพาะในเรื่องการทำการเกษตรเพื่อการเลี้ยงตัวเองให้รอด เพราะหากไม่สามารถปลูกพืชได้ทันช่วงฤดูมรสุมนี้ จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การช่วยเหลือให้สามารถปลูกพืชได้จึงมีความสำคัญมาก โดยจะเน้นพืชเช่น ข้าว มันฝรั่ง และผักต่างๆ
ในเวลาสองอาทิตย์ที่ผ่านมา โครงการนี้ระดมทุนไปได้แล้ว 878,758 บาท จากผู้คนกว่าสี่ร้อยคน โดยเป้าหมายระดมทุนให้ได้อย่างน้อยในระยะแรกนี้ 1 ล้านบาท จะทยอยโอนเงินไปเพื่อการช่วยเหลือและสร้างที่อยู่อาศัยมาตลอด จนปัจจุบันสามารถสร้างบ้านชั่วคราวได้แล้ว 30 หลังจากที่กำหนดไว้ 110 หลัง และดูแลสภาวะอนามัยของพื้นที่ให้ถูกหลักสุขอนามัย เพราะมีหลายพื้นที่รอบๆซึ่งเริ่มมีปัญหาโรคระบาดจากความไม่สะอาด
ขณะเดียวกัน เราได้เห็นธุรกิจชั้นนำ มีการร่วมบริจาคเงิน สิ่งของ หรือบริการเพื่อสนับสนุน เช่น บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ และสุขภาพ เพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ เป็นการคุ้มครองทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ 63 คน ที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ ด้วยทุนประกันรวม 63 ล้านบาท นับเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บริจาคเงิน ยา และผ้าห่ม มูลค่ารวม 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ มอบเงินช่วย 3 ล้านบาท บมจ.วิริยะประกันภัย บริจาค 1 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับนักศึกษาสถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ นำโปรตีนเกษตร 300 กก. และเงินบริจาคอีก 1,659,420 บาท ผ่านประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เนปาล
ส่วน ธนาคารกรุงเทพ เปิดบัญชีกระแสรายวัน “ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเนปาล” เลขที่ 101-3-45555-3 รองรับเงินบริจาค ผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร โดยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำรายการโอนเงินข้ามเขตในบัญชีดังกล่าว
พร้อมกับเชิญชวนลูกค้าบัตรเครดิต ให้เปลี่ยนคะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนน แทนเงินบริจาค 100 บาท โดยธนาคารกรุงเทพจะสมทบทุนเพิ่มอีก 100 บาท หรือเท่ามูลค่าเงินบริจาค (ธนาคารได้เตรียมเงินบริจาคสมทบไว้ 2 ล้านบาท)
ขณะที่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษา, iCARE องค์กรสร้างสรรค์เพื่อสังคม และ Asian Coalition for Housing Rights (ACHR)จัดโครงการ “Giving Hands to Nepal” เพื่อระดมทุนจัดซื้อและส่งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในการผลิดกระแสไฟฟ้าพร้อมสร้างศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือ (Community Center) รวมไปถึงสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ยากและทำให้พี่น้องชาวเนปาลได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
การร่วมบริจาคเงินในโครงการ “Giving Hands to Nepal” สามารถโอนผ่านธนาคารกสิกรไทย สาขากล้วยน้ำไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธรักษาเพื่อผู้ประสบภัยเนปาล เลขที่บัญชี 712-2-55093-6 และ ธนาคารกรุงเทพ สาขาตรอกจันทร์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธรักษาเพื่อผู้ประสบภัยเนปาล เลขที่บัญชี 133-3-17477-7 หรือสามารถบริจาคโดยตรงผ่านทางคุณฉันทนา สนานคุณ กับเจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทธรักษา โทร 02 742 9141 ต่อ 3403 มือถือ 083 989 5845
ข้อคิด...
ในวิกฤตการณ์นี้ เราได้เห็นบทบาทองค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมสังคม ผนวกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้มีจิตเป็นกุศลในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้รวมเร็วขึ้น
การบริจาคช่วยผู้ประสบเคราะห์กรรมในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสร้างกุศลด้วย “การให้” ก็ยังได้ “สิทธิ” ลดหย่อนภาษี เงินภาษีที่คุณต้องจ่ายอยู่ทุกปี สามารถเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคให้กับโครงการเพื่อสังคมที่คุณชอบได้โดยตรง จริงอยู่ว่าเงินภาษีที่จ่ายให้กับรัฐนั้นก็หมุนกลับมาเป็นเงินพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ แต่ถ้าคุณอยากจะพลิกบทบาท จากการให้แบบ passive (การให้อ้อมๆ ผ่านเงินภาษี) มาเป็นการให้ที่ active ขึ้น ด้วยการเลือกที่จะใช้ 10% ของเงินได้ มาบริจาคให้กับองค์กรที่คุณอยากจะช่วย เปลี่ยนความรู้สึกจาก “ภาระหน้าที่” มาเป็น “การให้” ที่สบายใจ สังคม สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ เพราะคุณเลือกที่จะให้เอง
การบริจาคผ่านเทใจ.com สามารถขอใบรับเงินเพื่อนำไปหักภาษีได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเทใจ ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อองค์กรที่นำยอดบริจาคไปหักภาษีได้ของกระทรวงการคลัง
suwatmgr@gmail.com