xs
xsm
sm
md
lg

Recycling 2.0 ยกระดับแนวทางรักษ์โลก ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบแพกเกจและวัสดุสิ่งพิมพ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ความต้องการของมนุษย์ทำให้ปริมาณการบริโภควัตถุดิบทั่วโลกมีน้ำหนักรวมกันกว่าปีละ 20,000 ตัน หรือเพิ่มกว่า 2 เท่าจากทศวรรษ 1970 และแนวโน้มดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้น เทียบกับทรัพยากรที่ใช้วัตถุดิบมีจำกัด
แนวทางที่เป็นไปได้ในการบริหารวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าใหม่ในอนาคตคือ การสร้างวงจรรีไซเคิลอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดรีไซเคิลแนวใหม่ คือ Recycling 2.0 เพื่อ Next-generation ที่เน้นการคัดแยกอย่างสมบูรณ์ และด้วยวิธีการอัจฉริยะไม่ใช่แบบหยาบๆ และแบบง่ายๆ อย่างเช่นแต่ก่อน และดินทุกก้อน ขยะทุกชิ้นจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองจนกลับเป็นวัตถุดิบที่สกัดแยกพร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ โดยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วย
แนวคิดในการรีไซเคิลเริ่มพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 จนถึงวันนี้นานหลายสิบปีทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปมาก ปริมาณขยะของเสียที่สามารถรีไซเคิลได้เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดวิธีการดำเนินการอย่างได้มาตรฐานทั้งด้านผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรีไซเคิล โดยเฉพาะขยะจากพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากสูตรและส่วนผสมทางเคมีที่แตกต่างกัน หลากหลาย

นอกจากกลุ่มพลาสติกที่ต้องพัฒนาวิธีจัดการเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้คุ้มค่าแล้ว กลุ่มขยะประเภท e-waste ที่มาจากสารฟูลออเรสเซนต์ แคตโรค แอลซีดี เซลล์โฟน แบตเตอรี่ คอมพิวเตอร์ และบรรดาเซอร์กิตต่างๆ มักจะใช้การทิ้งสะสมพอกพูนบนพื้นโลกจนสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างสุสานโลหะหนักมากมายในผืนโลก และหลายประเทศไม่มีโรงงานรีไซเคิลเพื่อจัดส่งขยะอันตรายเหล่านี้ออกไปจัดการในต่างประเทศ หรือฝังกลบอย่างผิดวิธี และขาดมาตรฐาน
สำหรับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดยุคที่ 2 ของการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า Recycling 2.0 ได้แก่ เยอรมนี แคนาดา ฮอลแลนด์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นอร์เวย์ และนิวซีแลนด์ โดยสามารถกำจัดขยะได้ในสัดส่วนสูงถึง 80% ของปริมาณขยะบนพื้นโลก ขณะที่สหรัฐฯโดยรวมสามารถกำจัดขยะได้เพียง 30% ของขยะทั้งหมดและมีเพียงบางเมืองเท่านั้นในสหรัฐฯที่ยึดโยงพันธกิจของ Zero waste เช่น ซานพรานซิสโก ซีแอตเติลและโคโลราโดเท่านั้น
เมืองส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกายังขาดแคลนบริการที่เกี่ยวข้องกับ Zero waste อย่าง EcoCycle ที่ทำงานอย่างมืออาชีพ เช่นเดียวกับประเทศอื่นอีกหลายประเทศในโลก อย่างเช่นสหรัฐฯ ให้ความสำคัญและหันความสนใจไปที่ 2 แนวทางแรก ได้แก่ (1) Reduce และ (2) Reuse ก่อนในระหว่างที่มีความพยายามในการพัฒนาและต่อยอดวิธีการที่ 3 คือ Recycling 2.0


เมื่อเปรียบเทียบกัน 3 แนวทาง ส่วนใหญ่เห็นว่า Recycling 2.0 มีความสำคัญมากที่สุด และมีความคุ้มค่าต่อความพยายาม เพราะวิธีการตามแนวทาง Recycling จะใช้พลังงานต่ำลง 40-90% เทียบกับกิจการที่ผลิตวัตถุดิบขึ้นมาใหม่ และกระบวนการRecycling ช่วยสร้างงาน 10-25 งานต่องานทุกงานในด้านการพัฒนาฟื้นฟูพื้นดิน
นอกจากนั้น โลกยังเชื่อว่าวิธีการรีไซเคิลมีส่วนช่วยในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลก เพราะใช้วัตถุดิบลดลงไป 50% จะมีส่วนช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,400 ปอนด์ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วนคือ การทบทวน วิเคราะห์อย่างละเอียดว่าควรจะทิ้งขยะนั้นหรือไม่ หากไม่แน่ใจจะต้องหาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน โดยเฉพาะบริการของผู้เชี่ยวชาญสามารถแนะนำวัสดุได้ครบวงจรทุกประเภท
ในแต่ละปีจะมีความพยายามกำหนดธีม (Theme) ของการรีไซเคิลว่าควรจะไปในทางใด อย่างเช่นเป็นธีมของหีบห่อและวัสดุสิ่งพิมพ์ ที่ถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวชูโรง และต่อมาก็เป็นวัสดุอันตรายและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นขยะที่ตกค้างและสั่งสมในพื้นดิน

Recycling 2.0 เข้มข้นกว่าอย่างไร
Recycling 2.0 เป็นที่มาของคำว่า Zero waste Program เป็นเป้าหมายที่รับรู้กันทั่วโลกเพื่อทำให้ทุกสังคมใช้การReuse และ Recycle อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฝ่ายของผู้บริโภคที่ต้องใส่ใจกับพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น แทนที่จะพยายามปฏิเสธ ไม่รับรู้อย่างเช่นในอดีต
แนวคิดของ Recycling 2.0 ที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ เปลี่ยนแปลงและยกระดับจากการบริหารขยะและของเสีย (Manage waste) เป็นการกำจัดขยะและของเสียทั้งหมด (Zero waste)
กำลังโหลดความคิดเห็น