ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก หรือ แลปท็อป หลายคนยังไม่ค่อยใส่ใจถึงแนวทางการใช้งานที่ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทั้งที่เลือกปฏิบัติเป็นประจำด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตัวเราเอง ดังนี้
1.ควรปิดคอมพิวเตอร์เวลาพักเที่ยง และปิดจอภาพหากไม่ได้ใช้เกิน 15 นาที
2.ตั้งเวลาปิดจอคอมพิวเตอร์อัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งานเกิน 3 นาที
3.ถอดปลั๊ก หรือปิดสวิทซ์ รวมถึงอุปกรณ์สำรองไฟเมื่อไม่ใช้งาน
4.เลือกใช้ขนาดหน้าจอที่เหมาะสมกับงาน
5.เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่ประหยัดพลังงาน (Energy Star)
หลายคนเปิดใช้งานอยู่ทุกวัน แต่อาจจะไม่รู้มาก่อนว่า คอมพิวเตอร์เปิดนาน 1 ชั่วโมง สิ้นเปลืองค่าไฟเท่าไร เขามีสูตรให้คำนวณคิด ดังนี้
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (Watts) / 1000) x ค่าไฟต่อหน่วย
ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ใช้ในบ้าน วัดได้ 0.9 A (แอมแปร์) ก็ต้องคำนวณออกมาเป็น Watts เสียก่อน
กำลังไฟ Watts (W) = แรงดันไฟฟ้า Volt (V) * ค่ากระแส Amp (A) ซึ่งก็คือ 220V * 0.9A = 198 Watts
ตามดูต่อจากสูตรข้างต้น
= (198 Watts / 1000) * 2.85 บาทต่อหน่วย = 0.5643 บาท (อย่าคิดว่าน้อยจัง เพราะยังไม่ได้คูณค่าไฟต่อหน่วย จากค่า FT และ VAT)
สมมติว่าใช้ไฟประมาณ 1,400 Units คิดแล้วจะได้ค่าไฟต่อหน่วยประมาณ 3.785 บาทต่อหน่วย
ลองคำนวณใหม่อีกที
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (198 / 1000) * 3. 785 = 0.74943 บาท ต่อ 1 เครื่อง (ใครดูแล้วอาจจะคิดว่านิดเดียวเองไม่ถึงบาท) แต่ความเป็นจริงเราใช้งานนานกว่านั้น รวมเวลาเปิดเครื่องใช้งาน และเปิดทิ้งไว้ เฉลี่ยถึงวันละ 10 ช.ม. และถ้าเป็นเวลา 1 เดือน ดูกันใหม่นะ สิ้นเปลืองเท่าใด
= 30 x 10 x 0.7 4943= 224.83 บาท
สรุปค่าไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นาน 1 เดือน โดยเปิดวันละ 10 ชั่วโมง เสียค่าไฟประมาณ 224.83 บาท
ซึ่งตามสำนึกงานต่างๆ ใช้กี่เครื่องก็คูณเข้าไป แต่ตัวเลขนี้ยังไม่ได้บวกค่าไฟส่องสว่าง ค่าไฟแอร์ ซึ่งเราชอบเปิดทิ้งเพราะเลือกความสะดวกมาก่อนประหยัด