xs
xsm
sm
md
lg

“หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1” กรมปศุสัตว์-ก.พลังงาน ดันเป็นพืชพลังงานทดแทน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 “หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1” กำลังจะเป็นพืชพลังงานที่มากคุณค่าในอนาคตอันใกล้
ขณะนี้กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างศึกษาต่อยอดสรรพคุณของ ”หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1” เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าปลอดมลภาวะและทดแทนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นอีกพลังงานทางเลือกหนึ่ง

“ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นผลการศึกษาวิจัยของศูนย์พัฒนาอาหารสัตว์ อ. ปากช่องจ. นครราชสีมา ของกรมปศุสัตว์ โดยการนำหญ้าเนเปียร์จากประเทศออสเตรียและเนเธอแลนด์มาผสมกับหญ้าไทย จึงกลายเป็นพันธุ์หญ้าที่เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพอากาศ และขยายพันธุ์ได้ดี นำมาใช้สัตว์เลี้ยงดีเพราะมีโปรตีนสูง สัตว์เลี้ยงจึงแข็งแรงและเติบโตเร็ว ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ไปเพาะปลูกทุกศูนย์พัฒนาอาหารสัตว์ ต่อมาได้นำมาพัฒนาต่อโดยการทดลองหมัก ซึ่งพบว่าเกิดก๊าซมีเทนสูงเทียบเท่าพืชพลังงานอย่างอ้อย แต่ต้นทุนในการเพาะปลูกต่ำกว่าเพราะปลูกเพียงครั้งเดียวแต่สามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 5-6 ครั้ง และขยายพันธุ์ก็ง่าย” ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวและว่า
คุณลักษณะของลำต้นที่เป็นข้อเหมือนอ้อยทำให้นำไปเพาะปลูกในดินแตกกออย่างรวดเร็ว ในขณะนี้จึงร่วมกับกระทรวงพลังงาน พัฒนาต่อยอดจากพืชเลี้ยงสัตว์ไปเป็นพลังงานทดแทน โดยอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลรายละเอียดสำหรับเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบในการศึกษาวิจัยพลังงานทดแทนอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป
ปกติเป็นพืชใช้เลี้ยงสัตว์ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง
ข้อมูล “หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1”
ชื่อพันธุ์ (ไทย) ปากช่อง 1 (อังกฤษ) Pak Chong 1
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pennisetum purpureum x Pennisetum americanum
ประวัติพันธุ์เป็นหญ้าเนเปียร์ที่นำเข้าจากไต้หวัน แล้วนำไปปลูกคัดเลือกทดสอบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตวนครราชสีมา
ลักษณะพันธุ์ เป็นหญ้าข้ามปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูง 2.5- 3.5 เมตร และเมื่อออกดอกมีความสูงถึงปลายช่อดอก 3.5- 4.5 เมตร
ผลผลิต ให้ผลผลิตน้ำหนักสด 12-15 ตันต่อไร่ต่อรอบการตัดทุก 60 วัน หรือผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2-2.5 ตันต่อไร่ต่อรอบ
คุณค่าอาหาร มีโปรตีน 13-17 เปอร์เซ็นต์ และคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ (WSC) 11-12 เปอร์เซ็นต์ ที่การตัดทุก 60 วัน
กำลังโหลดความคิดเห็น