นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ค้นพบเทคนิคที่นำเห็ดมาช่วยงานระบบรีไซเคิลตามธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งแก้ปัญหาการฝังกลบของเสียในพื้นดินได้
ก่อนหน้านักศึกษากลุ่มนี้เดินทางไปที่อะเมซอน เพื่อศึกษาการบำบัดในกระบวนการย่อยสลายวัสดุของเสียด้วยธรรมชาติ โดยพบว่าเห็ดมีคุณสมบัติสร้างเชื้อราที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ และมีการตีพิมพ์ผลงานการดังกล่าวในวารสารชื่อ 'Applied and Environmental Microbiology'. เมื่อปีที่แล้ว
นับเป็นข่าวดีของวงการบำบัดของเสียที่ย่อยสลายยาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนมากใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้ต้นทุนสูงขึ้นในกระบวนการรีไซเคิล
อย่างกรณีของหน่วยงานบำบัดของเสียในอังกฤษ ระบุว่าแต่ละปีมีพลาสติกต้องทำการกำจัดถึง 4.5 ล้านตัน ทางด้านบริษัท Ecovative Design ซึ่งมีฐานการดำเนินธุรกิจที่นิวยอร์ค ออกมาสนับสนุนการใช้เชื้อราจากเห็ดเป็นทางเลือกในการบริหารขยะจากหีบห่อสินค้าที่มาจากครัวเรือน และสนใจใช้เชื้อราเป็นวัตถุดิบในการบริหารของเสียทางอุตสาหกรรม
จากการค้นพบนี้ทำให้วงการบำบัดของเสียต่างมีความหวังว่าเชื้อราจากเห็ดจะกำจัดและย่อยสลายพลาสติกที่ย่อยสลายยากแทนกระบวนการฝังกลบ โดยเฉพาะพลาสติกประเภทโพลีเมอร์ โพลีเอสเตอร์ โพลียูรีเทน ซึ่งหากมีการวิจัยเพิ่มเติมแล้วก็มีความคุ้มค่าที่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์