ปี 2549 ที่ผ่านมายังคงเป็นปีทองของผู้เล่นเกมออนไลน์ไทย เพราะมีเกมใหม่จากต่างประเทศเข้ามาให้เลือกกันถึง 9 เกม (เล่นฟรีทั้งหมด) และมีเกมที่ต้องสังเวยปีจอไปเพียง 3+2 เกม ซึ่งวันนี้เราจะมาสรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆ รวมทั้งขอบ่น(เบาๆ)ส่งท้ายปีกันเล็กน้อย
เริ่มที่สรุปเกมออนไลน์จากต่างประเทศที่เปิดใหม่และปิดไปในปี 2549 นี้กันก่อนเลย โดยเกมออนไลน์ใหม่ทั้ง 9 เกมมีอะไรบ้าง และ 2 เกมออนไลน์ที่ต้องปิดไปคือเกมใด เรามาดูข่าวการเปิดและปิดตัวย้อนหลังกันได้เลยดังนี้
เกมออนไลน์ใหม่ที่เปิดตัวในปี 2549 จำนวน 9 เกม ซึ่งทั้งหมดเปิดให้บริการเล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม
- โยเกิร์ตติ้ง (Yogurting) ของบริษัท อินิทรี ดิจิตอล เปิดให้เล่นครั้งแรก 9 มี.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- darkstory (ดาร์ค สตอรี่) ของบริษัท จาย่า ซ๊อฟท์ วิชั่น เปิดให้เล่นครั้งแรก 19 เม.ย. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- Special Force ของบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ แถลงข่าวเปิดตัว 1 มิ.ย. 49 เปิดให้เล่นครั้งแรก 17 ก.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- 3kingdoms (3ก๊กออนไลน์) เปิดให้เล่นครั้งแรก 5 ก.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- Audition ของบริษัทเอเชียซอฟท์ แถลงข่าวเปิดตัวพร้อมเปิดเล่นครั้งแรก 6 ก.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- Fanta Tennis ของบริษัท อินิทรี ดิจิตอล เปิดตัวครั้งแรก 21 ก.ย. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- Granado Espada ของบริษัทเอเชียซอฟท์ แถลงข่าวเปิดตัวพร้อมเปิดเล่นครั้งแรก 10 ต.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- ทริคสเตอร์ ออนไลน์ ของบริษัท ซิลเวอร์คอยน์ แถลงข่าวเปิดตัว 2 พ.ย. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
- Super Dancer Online (SDO) ของบริษัทวินเนอร์ ออนไลน์ เปิดให้เล่นครั้งแรก 14 ธ.ค. 49 (เล่นฟรี ขายไอเท็มในเกม)
อ่านข่าวเปิดตัวย้อนหลังได้ ที่นี่
สำหรับเกมที่ต้องสังเวยให้กับปีหมาดุมีอยู่ด้วยกัน 3 เกมเก่า และ 2 เกมใหม่(แท้งตั้งแต่ในท้อง) คือ เกมแฟรี่แลนด์ , มิวออนไลน์ , กันบาวด์ออนไลน์ , เคโระคิงออนไลน์ และ “Save Our School Online”(SOS)
นิวอีร่าถอดใจ ปิดมิว เลิกปั้นเกมตีกบ
นับเป็นข่าวใหญ่ที่ค่อนข้างกระเทือนวงการพอสมควร กับการถอนตัวจากผู้ให้บริการเกมออนไลน์ของบริษัทนิวอีร่า หลังจากพยายามปั้นเกมตีกบออนไลน์ “เคโระคิง” ออกมาเสริมทัพในช่วงต้นปีแต่ไม่สำเร็จ และในช่วงกลางปีก็เริ่มมีข่าวลือเกี่ยวกับปัญหาในการต่อสัญญาแพร่ออกมา ไม่นานข่าวการปิดเกมมิวออนไลน์อย่างเป็นทางการก็ตามออกมา ถือเป็นการยุติบทบาทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ของบริษัทนิวอีร่าลงทันที
- มิวออนไลน์ ของบริษัทนิวอีร่า ออนไลน์ เปิดตัว 5 ก.ย.46 ปิดตัว พ.ย. 49 รวมอายุ 3 ปี 2 เดือน
ข่าวการเปิดตัว - “มิว” เกมออนไลน์อันดับ 1 โลก ลั่นฆ้องลองระบบ 5 ก.ย.นี้
ข่าวการปิดตัว - ปิดชัวร์!! มิวออนไลน์ไทยประกาศยุติให้บริการถาวร
นิวอีร่าปล่อยเกมตีกบ! "เคโระคิง ออนไลน์" ที่แรกในโลก
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมายังมีอีกสามเกมที่ได้ปิดตัวลง เกมแรกคือเกม "แฟรี่แลนด์ออนไลน์" จากบริษัท จัส ซันเดย์ ไซเบอร์เนชั่น ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกประมาณเดือนมิถุนายน 2546 ปิดตัว 29 กันยายน 2549 รวมอายุ 3 ปี 3 เดือน
ข่าวการปิดตัว - จัสซันเดย์ฯ ยุติให้บริการเกม ปิดตำนานโลกนิทาน "แฟรี่แลนด์"
เกมที่ 2 คือเกมออนไลน์แคชชวล “กันบาวด์” จากบริษัทเอเชียซอฟท์ ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 และปิดตัวปลายเดือนธันวาคม 2549 รวมอายุการเปิดให้บริการ 2 ปี 10 เดือน
ข่าวการเปิดตัว - “กันบาวด์” คู่ดวล “ฟอร์เทรส” เปิดเซิร์ฟเวอร์เล่นเกมแล้ว
ข่าวการปิดตัว - อวสานสงครามรถถัง "กันบาวด์" ปิดตัวส่งท้ายปี
สำหรับเกมสุดท้ายเป็นเกมที่ยังไม่มีโอกาสแม้แต่จะได้ลืมตาดูโลกเช่นเดียวกับเกม เคโระคิง นั่นคือเกม “Save Our School Online”(SOS) จากบริษัท Golden Soft ที่หลังจากเผยตัวและเตรียมเปิดให้ผู้เล่นได้สัมผัสในช่วงโคลสเบต้า ก็มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ต้องยุติการเปิดให้บริการไปแบบเงียบๆทันที
ค่ายเกมน้องใหม่ ดึงเกมสุดน่ารักลงไทย “SOS Online”
Granado Espada , O2Jam กลับลำ อ้าแขนรับเด็กเล่นฟรี
ยืนยันกระแสเกมเล่นฟรีได้เป็นอย่างดี กับข่าวการปรับกลยุทธ์แบบสายฟ้าแลบของ 2 เกมดังเพื่อความอยู่รอด โดยเกมแรกเป็นต้นตำหรับของเกมเต้นออนไลน์ในไทย “O2Jam” ที่หลังจากพยายามเปิดให้บริการเกมในรูปแบบการเก็บค่าบริการเล่นเกม (Air time) มาได้เกือบ 2 ปี ในที่สุด O2Jam ก็ต้านกระแสเกมเล่นฟรีไม่ไหว งัดกลยุทธ์เปิดเล่นฟรี ขายเพลงและไอเท็มตามเกมแคชชวลรุ่นน้องที่แห่กันเข้ามาเปิดกันอย่างมากมายในปัจจุบัน
'O2Jam' ตำนานเกมเต้นออนไลน์รุ่นเก๋า เปิดเล่นฟรีแล้ว!!
สำหรับเกมตัวที่ 2 เป็นเกมใหม่ที่เอเชียซอฟท์ได้นำเข้ามาให้บริการในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะเก็บค่าบริการในราคาใกล้เคียงกับเกมในสังกัด แต่สุดท้ายหลังจากเปิดให้เล่นกันไปสักระยะ ก็ออกมาประกาศให้นักเล่นฟรีได้เฮกันลั่น ว่าจะปรับรูปแบบเป็นเกมขายไอเท็มตามเซิร์ฟเวอร์แม่ประเทศเกาหลี
ฟันธง!! "Granado Espada" เปิดเล่นฟรี ขายไอเท็ม
สรุปข่าวเกมออนไลน์ในปีนี้ เราขอปิดท้ายด้วยการวิจารณ์เหตุการณ์ต่างๆในปีที่ผ่านมาสักเล็กน้อย ซึ่งทีมงานผู้จัดการเกมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยันว่าทั้งหมดเป็นการประมวลผลจากข้อมูลต่างๆที่ได้สัมผัสและรับรู้มา บวกกับความคิดเห็นส่วนตัวอีกเล็กน้อย ทำให้อาจไม่ตรงใจหรือกระทบใครบางคน ซึ่งเราต้องขออภัยและน้อมรับข้อคิดเห็นไว้ ณ ที่นี้ด้วย ปีหน้าฟ้าใหม่ ขอให้เริ่มต้นคิดดี ทำดี และได้แต่สิ่งดีๆดังหวังกันทุกคนนะครับ
วิบากกรรมเกมเกาหลี (โบ้ย)เน็ตไทยสุดห่วย!!
ในปีที่ผ่านมาก็มีเกมออนไลน์(เกาหลี)ที่ต้องชีช้ำ ออกมาตีโพยตีพายกับความล้าหลังของระบบอินเทอร์เน็ตบ้านเราจนเกือบจะเอาตัวไม่รอด ปิดแล้วปิดอีก ซ่อมแล้วซ่อมอีกกว่าจะเปิดให้เล่นกันได้จริงๆ ทำเอาแฟนๆที่ตั้งตารอคอยทั้งบ่นและเบื่อกันเป็นแถวๆ แต่ทั้งนี้การโยนความผิดให้กับระบบของบ้านเราฝ่ายเดียวก็คงไม่แฟร์เท่าไหร่ เพราะเมื่อคุณคิดจะมาโกยเงินบ้านเรา ก็ต้องสนใจที่จะตรวจสอบให้ดีก่อนว่าพร้อมแล้วหรือไม่ เกมดัง เกมดี จากที่ไหน แต่ถ้าเล่นในไทยไม่ได้ก็จบกันนะครับ
มหกรรม(โชว์)ปราบบอท จริงใจหรือเอาหน้า?
มาต่อกันด้วยเรื่องโปรแกรมช่วยเล่น(บอท) ซึ่งเป็นปัญหาเดิมๆซ้ำซากที่ผู้เล่น(จริงๆ) ต่างส่ายหัวและเคลือบแคลงสงสัยถึงความจริงใจในการขจัดเนื้อร้ายนี้ เพราะเป็นที่รู้กันว่ารายได้ส่วนหนึ่ง(ส่วนใหญ่สำหรับบางค่าย)ก็มาจากผู้เล่นที่ใช้บอทนี่เอง ซึ่งในปีที่ผ่านมา ก็มีการออกมาย้ำนักย้ำหนาว่าจะเอาจริง พร้อมโชว์ผลงานตัวเลขผู้ถูกแบนบอทอย่างสนุกสนาน แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้บอทจริงๆกลัวขึ้นมาบ้างหรือไม่?
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้ให้บริการเกมมักมุ่งเน้นการปราบบอทด้วยโปรแกรมป้องกันหลากหลายยี่ห้อ (เกิดมาไม่เคยเห็นกันได้จริงสักตัว) และการลงพื้นที่ตรวจสอบตามหมายเรียกจากผู้เล่นเท่านั้น ซึ่งรู้ๆกันอยู่ว่าที่ทำไปก็แค่สร้างความรำคาญให้กับผู้พัฒนาบอทและเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ใช้เท่านั้น “กันได้ก็แก้ได้ขอแค่เวลา” “นานๆจะโดนแบน สร้างตัวใหม่แปปเดียวก็เท่าเดิม” “เล่นเองเหนื่อยแทบตายได้วันละ 10% เพื่อนเปิดบอท 24 ชั่วโมงเลเวลนำไปหมดแล้ว” เสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆนี้ ทำให้ผู้เล่นหันมาใช้บอทกันมากขึ้น
หากผู้ให้บริการตั้งใจทำให้เกมปลอดจากบอทจริงๆ ควรที่จะใช้ไม้แข็งที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกไม่คุ้มที่จะเสี่ยงมากกว่านี้ เช่นการแอบอัพเดทแพทช์ให้การรับส่งค่าตอนล็อคอินระหว่างตัวเกมกับเซิร์ฟเวอร์เปลี่ยนไป ทำให้พวกใช้บอทที่ไม่ได้อัพเดทแก้ในตอนนั้นส่งค่าผิดๆกลับมา แล้วก็จับแบนทันทีแบบยกโขยง และยังมีวิธีอื่นๆอีกมากมายที่ดูแล้วน่าจะพอทำได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ สิ่งเหล่านี้คงอยู่ที่ผู้ให้บริการและฝ่ายเทคนิคว่าจะทำได้หรือไม่(ได้ทำ)
หากให้เราสรุปนโยบายและผลงานของผู้ให้บริการเกมเกี่ยวกับมาตรการในช่วงปีที่ผ่านมา คงต้องบอกว่าเป็นเพียงแนวทางการควบคุมปริมาณบอทเท่านั้น ไม่ใช่การปราบปรามบอทอย่างที่หลายเจ้าต่างคุยโวดังเช่นปัจจุบัน ตัวเลขแสดงการแบนบอทก็เป็นเพียงจำนวนเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายบางส่วน ที่คุณตัดใจเฉือนทิ้งเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดี และหลอกเด็กบางคนได้เท่านั้น
เกมออนไลน์ดี เล่นฟรีมี(ที่ไหน?!!)
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดใจเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา กับแนวทางการหาเงินของเกมออนไลน์เล่นฟรี ที่เริ่มมีแนวโน้มดูดเงินแบบไม่ไว้หน้า อนาคตเกมเป็นเช่นไรไม่สนใจ โกยได้ต้องรีบโกย โปรโมชั่น(สูบเงิน) จึงกระหน่ำออกมาแบบมืดฟ้ามัวดิน พร้อมการปรับสมดุลแบบพิลึก “เด็กไทยเล่นเก่งต้องปรับให้โหดๆ(ดูดนานๆ)” และที่ดูหนักมากที่สุดคงไม่พ้นกลยุทธ์เสี่ยงดวง ที่ทำให้เด็กๆยังไม่ค่อยมีสติในการยับยังสิ่งยั่วยุเหล่านี้ เริ่มไม่มีลิมิตกับการใช้จ่ายค่าเล่นเกมในแต่ละเดือน (อยากเก่งต้องรวย อยากได้ต้องทุ่ม) คำแก้ตัวที่ว่า “เราไม่ได้บังคับให้ซื้อ จะบ่นทำไม ให้เล่นฟรีก็ดีแค่ไหนแล้ว” คงฟังไม่ขึ้น หากยังใช้ความเจ้าเล่ห์กับกลุ่มเป้าหมายในเชิงการพนันเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม เกมต่อๆไปที่เข้ามาในอนาคตคงมีน้อยรายที่จะกล้าเก็บค่า Air Time ในยุคที่เด็กเคยตัวกับการเล่นฟรี และแนวโน้มเกมออนไลน์ที่เข้ามาจะมีอายุที่สั้นลงเรื่อยๆ เพราะผู้ให้บริการมุ่งเน้นรีบเก็บเงินให้คุ้มทุนแล้วหันไปมองหาเกมตัวอื่นๆมาเปิดแทน โดยจะโยกย้ายทรัพยากรหลัก ทั้งเซิร์ฟเวอร์และบุคลากรมาลงที่เกมใหม่แทน ทำให้เกมเก่าๆที่เริ่มไม่มีคนเล่นยังพอถูๆไถๆเปิดต่อไปไม่ต่างจากผีดิบที่ตายแล้วแต่เก็บไว้รักษาภาพลักษณ์เท่านั้น
สรุปรายชื่อเกมออนไลน์ที่ยังเปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้
- แร๊กนาร็อคออนไลน์ - มังกรหยก ออนไลน์ - TS Online บริษัท เอเชียซอฟท์ - R.Y.L บริษัท วินเนอร์ออนไลน์ - Lineage II บริษัท เอ็นซี ทรู | - แล็กแฮ่ม บริษัท ไทยไอที - เอ็น-เอจ บริษัท วอแร็กซ์ ในเครือล็อกซบิท - พริสตัน เทล บริษัท ทรู ดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนท์ - ข่าน บริษัท ลิเบอร์ต้า - ต๊อกส์คลับ บริษัท ไทยซิสเต็ม อินทิเกชัน - Fly For Fun บริษัท อินิทรีดิจิตอล ในเครือกาแล็คซี่ - Getamped บริษัท ดิจิคราฟท์ - ปังย่าออนไลน์ บริษัท อินิทรีดิจิตอล ในเครือกาแล็คซี่ - ซีลออนไลน์ บริษัท FUNBOX - เมเปิล สตอรี่ บริษัท เอเซียซอฟท์ - Ran บริษัท ซินเซียร์ เอ็ดดูเทนเมนท์ - ลาสท์ คาออส บริษัท เกมเวิลด์ (ยังไม่เก็บ) - BnB บริษัทเอเซียซอฟท์ อินเตอร์เนชั่นแนล - อาร์คาน่าการ์ด บริษัท ดิจิคราฟท์ - Yulgang ยุทธภพครบสลึง บริษัทเอเซียซอฟท์ - O2JAM บริษัทโอริออน - โยเกิร์ตติ้ง บริษัท อินิทรี ดิจิตอล - ดาร์ค สตอรี่ บริษัท จาย่า ซ๊อฟท์ วิชั่น - Special Force บริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ - 3kingdoms บริษัท FUNBOX - Audition บริษัทเอเชียซอฟท์ - Fanta Tennis บริษัท อินิทรี ดิจิตอล - Granado Espada บริษัทเอเชียซอฟท์ - Trickster Online บริษัท ซิลเวอร์คอยน์ - Super Dancer Online บริษัทวินเนอร์ ออนไลน์ |