xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาว แค่วันละ 2 เม็ด แก้ปัญหาสุขภาพ เอดส์ วัณโรค ไอเรื้อรัง และหอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีที่มีโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาว แค่วันละ 2 เม็ด แก้ปัญหาสุขภาพ เอดส์ วัณโรค ไอเรื้อรัง และหอบ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ เชื้อวัณโรค การไอเรื้อรัง หรือโรคหอบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
วันนี้ (13 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพเรื่องผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาว แค่วันละ 2 เม็ด แก้ปัญหาสุขภาพ เอดส์ วัณโรค ไอเรื้อรัง และหอบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์แนะนำว่าผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาว แค่วันละ 2 เม็ด แก้ปัญหาสุขภาพ เอดส์ วัณโรค ไอเรื้อรัง และหอบ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มี เฮิร์บ พลูคาว /ME HERB PHLU KHAO DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT เลข อย. 13-1-07458-5-0232 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ เชื้อวัณโรค การไอเรื้อรัง หรือโรคหอบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด 

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาโรคเอดส์ โรควัณโรค หรือโรคหอบ อาจเสียเงินเปล่าและเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข https://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx หรือโทร. 02-590-7000 ได้ในเวลาราชการ

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ เชื้อวัณโรค การไอเรื้อรัง หรือโรคหอบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด 

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น