จากกรณีมีการเผยแพร่ว่าสภาอนุมัติกฎหมายฉีดไข่ฝ่อ เตรียมบังคับใช้กรณีผู้กระทำความผิดทางเพศ ทางสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ชี้แจงว่าตามที่ผู้โพสต์ระบุว่า “หากยินยอมให้ฉีดจะช่วยลดหย่อนผ่อนโทษให้เบาลง” แท้จริงแล้วแม้ผู้กระทำความผิดจะยินยอมให้รักษาโดยการฉีดฮอร์โมน ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการลดโทษหรือบรรเทาโทษ ซึ่งยังคงเป็นดุลยพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด
วันนี้ (3 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นเรื่องสภาอนุมัติกฎหมายฉีดไข่ฝ่อ เตรียมบังคับใช้กรณีผู้กระทำความผิดทางเพศ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
จากกรณีที่มีข้อมูลบนสื่อออนไลน์ระบุว่าสภาไฟเขียว กฎหมาย ‘ฉีดไข่ฝ่อ’ จ่อบังคับใช้กรณีผู้กระทำความผิดทางเพศซ้ำ ทางสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าตามข้อมูลของผู้โพสต์ได้มีการกล่าวถึงร่าง พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. … ด้านมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และมาตรการทางการแพทย์ ที่ว่า “หากยินยอมให้ฉีดจะช่วยลดหย่อนผ่อนโทษให้เบาลง” นั้น ความเป็นจริงแล้วการพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อลงโทษผู้ที่กระทำความผิดตามร่างกฎหมายฉบับนี้ แม้ผู้กระทำความผิดจะยินยอมให้รักษาโดยการฉีดฮอร์โมน ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการลดโทษหรือบรรเทาโทษ ซึ่งยังคงเป็นดุลยพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ตามความผิดนั้นๆ
แต่การใช้มาตรการทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้ในช่วงที่ผู้กระทำความผิดรับโทษอยู่ในเรือนจำนั้น ผลของการแก้ไขฟื้นฟู หรือการบำบัดรักษากรมราชทัณฑ์จะนำมาเป็นเงื่อนไขประกอบการพิจารณาพักโทษ หรือดำเนินการอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย (เดิมจะไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้ประกอบการพักโทษ)
ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ที่เว็บไซต์ www.moj.go.th หรือโทร. 02 1415100
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ตามที่ผู้โพสต์ระบุว่า “หากยินยอมให้ฉีดจะช่วยลดหย่อนผ่อนโทษให้เบาลง” แท้จริงแล้วแม้ผู้กระทำความผิดจะยินยอมให้รักษาโดยการฉีดฮอร์โมน ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการลดโทษหรือบรรเทาโทษ ซึ่งยังคงเป็นดุลยพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ตามความผิดนั้นๆ
หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม