xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! พายุซงด่า เคลื่อนตัวไทยตอนบน ในภาคอีสานตอนบนด้านตะวันออก ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 65

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีเกี่ยวกับเรื่องพายุซงด่า เคลื่อนตัวไทยตอนบน ในภาคอีสานตอนบนด้านตะวันออก ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 65 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงว่าจากการติดตามและคาดการณ์ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่มีการก่อตัวของพายุดังกล่าว ซึ่งในวันที่ 29 ก.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้

วันนี้ (29 ก.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องพายุซงด่า เคลื่อนตัวไทยตอนบน ในภาคอีสานตอนบนด้านตะวันออก ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. – 1 ส.ค. 65 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้โพสต์เตือนด้านภัยพิบัติโดยระบุว่าพายุซงด่า เคลื่อนตัวไทยตอนบน ในภาคอีสานตอนบนด้านตะวันออก ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. – 1 ส.ค. 65 ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากการติดตามและคาดการณ์ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่มีการก่อตัวของพายุดังกล่าว ในวันที่ 29 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 1 ส.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก และขอให้ติดตามการรายงานสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th หรือเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา หรือโทรสายด่วน 1182

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการติดตามและคาดการณ์ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่มีการก่อตัวของพายุดังกล่าว

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


กำลังโหลดความคิดเห็น