xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวจริง! ไลน์ถามเรื่องงานในวันหยุด ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน 1 เท่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และมาตรา 25 กำหนดเรื่องการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้างไว้ โดยหลักห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานวันหยุดเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป แต่เมื่อนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขไว้โดยนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป

วันนี้ (29 ก.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องไลน์ถามเรื่องงานในวันหยุด ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน 1 เท่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และมาตรา 25 กำหนดเรื่องการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้างไว้ โดยหลักห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานวันหยุดเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป โดยกฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสุขภาพและอนามัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ เพราะเมื่อลูกจ้างทำงานจนครบชั่วโมงทำงานตามปกติลูกจ้างก็ควรมีเวลาพักผ่อนแต่เมื่อนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขไว้ โดยนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป

กรณีที่นายจ้างกำหนดเวลาทำงานเริ่มต้นและสิ้นสุดในแต่ละวันไว้แล้ว เช่น 08.00 ถึงเวลา 17.00 น. หากนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติที่กำหนดเอาไว้ ถือได้ว่าเป็นการสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และกรณีเป็นการสั่งให้ทำงานในวันหยุดลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ อัตราการจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อ กองสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน โทร 0 2660 2180 และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.labour.go.th หรือโทร 1546 หรือ 1506 กด 3

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน


กำลังโหลดความคิดเห็น