xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! เป็นเนื้องอกในมดลูกเพราะมีเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลในเรื่องเป็นเนื้องอกในมดลูกเพราะมีเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าสาเหตุการเกิดเนื้องอกในมดลูกที่ชัดเจนยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีปัจจัยที่เกิดจากฮอร์โมนเพศของสตรี, พันธุกรรม หรือตัวเร่งการเจริญเติบโตที่มีในร่างกาย (growth factor) ดังนั้นภาวะเนื้องอกในมดลูกจึงไม่เกี่ยวกับการมีพิษเย็น, เลือดเป็นพิษ หรือเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด

วันนี้ (22 ก.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเป็นเนื้องอกในมดลูกเพราะมีเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีมีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเป็นเนื้องอกในมดลูกเพราะมีเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สาเหตุการเกิดเนื้องอกในมดลูกที่ชัดเจนยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีปัจจัยที่เกิดจาก ฮอร์โมนเพศของสตรี, พันธุกรรม หรือตัวเร่งการเจริญเติบโตที่มีในร่างกาย (growth factor) ซึ่งโรคดังกล่าวส่วนใหญ่ทำให้สตรีมีอาการปวดท้องน้อย, ปวดประจำเดือน, เลือดออกผิดปกติ หรือคลำก้อนได้ที่ท้อง ดังนั้นภาวะเนื้องอกในมดลูกจึงไม่เกี่ยวกับการมีพิษเย็น, เลือดเป็นพิษ หรือเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด

การวินิจฉัย ทำได้โดยการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน และใช้อัลตร้าซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยที่แน่นอน

การรักษา มีทั้งการใช้ยาฮอร์โมนภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการผ่าตัดในกรณีมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดที่มดลูกเพื่อให้ขนาดก้อนลดลงจึงเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ และไม่มีการรักษาเนื้องอกในมดลูกด้วยวิธีดังกล่าว

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร. 02-590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ภาวะเนื้องอกในมดลูกไม่เกี่ยวกับการมีพิษเย็น, เลือดเป็นพิษ หรือเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น