xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! รับประทานยาความดันตอนเช้าจะคุมความดันได้ไม่ดี เสี่ยงเกิด Stroke ได้ง่าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีที่มีการโพสต์โดยระบุว่ารับประทานยาความดันตอนเช้าจะคุมความดันได้ไม่ดี เสี่ยงเกิด Stroke ได้ง่าย ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าเนื้อหาข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงตอนเช้า จะช่วยควบคุมความดันโลหิตในช่วงเวลากลางวัน เพราะยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิดอาจไม่ได้ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้นบางครั้งอาจต้องรับประทานยาเช้าและเย็นเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ
วันนี้ (16 ก.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีการแชร์คลิปเกี่ยวกับสุขภาพในประเด็นเรื่องรับประทานยาความดันตอนเช้าจะคุมความดันได้ไม่ดี เสี่ยงเกิด Stroke ได้ง่าย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์โดยระบุว่ารู้หรือไม่? กินยาความดันตอนเช้าจะคุมความดันได้ไม่ดี เสี่ยงเกิด Stroke ได้ง่าย ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าเนื้อหาข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงตอนเช้า จะช่วยควบคุมความดันโลหิตในช่วงเวลากลางวัน ยารักษาความดันโลหิตสูงที่รับประทานตอนเย็นหรือก่อนนอนอาจจะช่วยควบคุมความดันโลหิตในช่วงเช้าได้ เพราะยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิดอาจไม่ได้ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้นบางครั้งอาจต้องรับประทานยาเช้าและเย็นเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เนื้อหาข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงตอนเช้า จะช่วยควบคุมความดันโลหิตในช่วงเวลากลางวัน เพราะยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิดอาจไม่ได้ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้นบางครั้งอาจต้องรับประทานยาเช้าและเย็นเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น