จากกรณีที่มีการส่งข้อมูลสุขภาพว่าฟันผุติดต่อกันได้ ผ่านการหอมหรือจูบ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ชี้แจงว่าฟันผุ ไม่ใช่โรคติดต่อผ่านการหอมหรือจูบ เนื่องจากฟันจะผุได้ นอกจากเชื้อโรคแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เช่น ความเป็นกรดของน้ำลาย การไหลของน้ำลาย สภาพของผิวฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาการสัมผัสของเชื้อโรค และกรดต่อผิวฟัน จนกระทั่งเกิดการทำลายของผิวเคลือบฟันและเนื้อฟันตามลำดับ ซึ่งต้องใช้เวลานานมากพอ
วันนี้ (25 มิ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องฟันผุติดต่อกันได้ ผ่านการหอมหรือจูบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับโรคฟันผุ ว่าสามารถติดต่อกันได้ ผ่านการหอมหรือจูบนั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ชี้แจงว่าฟันผุ ไม่ใช่โรคติดต่อผ่านการหอมหรือจูบ เนื่องจากฟันจะผุได้ นอกจากเชื้อโรคแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เช่น ความเป็นกรดของน้ำลาย การไหลของน้ำลาย สภาพของผิวฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาการสัมผัสของเชื้อโรค และกรดต่อผิวฟัน จนกระทั่งเกิดการทำลายของผิวเคลือบฟันและเนื้อฟันตามลำดับ ซึ่งต้องใช้เวลานานมากพอ อาจต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือน จนเกิดการทำลายของผลึกเคลือบฟัน
ทั้งนี้ การจูบในช่วงเวลาอันสั้น ไม่สามารถทำให้เกิดการติดต่อของฟันผุได้ แต่อย่างไรก็ตาม การจูบ มีโอกาสส่งผ่านเชื้อโรคทางน้ำลาย เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ หรือเริม นอกจากนี้กรณีที่มีแผลในช่องปาก อาจทำให้เกิดการติดต่อของโรคติดต่อผ่านทางเลือดได้อีกด้วย เช่น โรคเอดส์ ซิฟิลลิส
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 0-2590-6000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ฟันผุไม่ใช่โรคติดต่อผ่านการหอมหรือจูบ เพราะฟันจะผุได้เกิดจากเชื้อโรค ความเป็นกรดของน้ำลาย การไหลของน้ำลาย สภาพของผิวฟัน และระยะเวลาการสัมผัสของเชื้อและกรดต่อผิวฟัน
หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข