จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลว่า ข้าราชการบำนาญที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และไม่ได้กู้บำเหน็จตกทอด สามารถทำเรื่องรับเงิน 200,000 บาทได้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้าราชการบำนาญจะได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพตามสิทธิที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน ซึ่งบำเหน็จดำรงชีพก็คือครึ่งนึงของบำเหน็จตกทอด โดยอายุ 65 ปี จะได้รับเงินไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ได้ถูกแยกเป็นเงินบำเหน็จกับบำนาญแต่อย่างใด
วันนี้ (16 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ประเด็นเรื่องข้าราชการบำนาญที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และไม่ได้กู้บำเหน็จตกทอด สามารถทำเรื่องรับเงิน 200,000 บาทได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่า กฎหมายใหม่ออกมาปีนี้ ให้ข้าราชการบำนาญที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และไม่ได้กู้บำเหน็จตกทอด สามารถทำเรื่องรับเงิน 200,000 บาทได้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ตั้งแต่ปี 62 เป็นต้นไป บำเหน็จดำรงชีพสามารถขอรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท โดยอายุ 60 ปี รับไม่เกิน 200,000 บาท , อายุ 65 รับไม่เกิน 200,000 บาท และอายุ 70 รับไม่เกิน 100,000 บาท ตามสิทธิที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน โดยเงินบำเหน็จดำรงชีพคำนวณจากเงินบำนาญ x 15 เท่า = บำเหน็จดำรงชีพของแต่ละคน ซึ่งบำเหน็จดำรงชีพคือครึ่งนึงของบำเหน็จตกทอด
ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หรือโทร 0-2127-7000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้าราชการบำนาญจะได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพตามสิทธิที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน ซึ่งบำเหน็จดำรงชีพก็คือครึ่งนึงของบำเหน็จตกทอด โดยอายุ 65 ปี จะได้รับเงินไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ได้ถูกแยกเป็นเงินบำเหน็จกับบำนาญแต่อย่างใด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมบัญชีกลาง