จากกรณีที่มีการโพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊กถึงเรื่องจากที่นอนกระทันหัน ทำให้กระดูกกะโหลกศีรษะแตก หัวใจหยุดเต้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า การลุกจากที่นอนอย่างกระทันหัน ไม่ทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือกระดูกกะโหลกศีรษะแตก เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เวลาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ
วันนี้ (13 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่องลุกจากที่นอนกระทันหัน ทำให้กระดูกกะโหลกศีรษะแตก หัวใจหยุดเต้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการโพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊กว่า การลุกจากที่นอนอย่างกระทันหัน จะทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ความดันโลหิตลดต่ำ กระดูกกะโหลกศีรษะแตก หรือหัวใจหยุดเต้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ แม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนท่าเร็วแต่เมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น การมีโรคประจำตัวบางอย่างซึ่งอาจจะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่น เบาหวาน โรคความเสื่อมของสมองบางชนิด การรับประทานยาบางประเภทที่มีผลต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ สภาพร่างกายที่อ่อนเพลีย ก็เป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืดหรือวิงเวียนเวลาเปลี่ยนท่าเร็วๆ ได้ แต่ไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นจะทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือกระดูกกะโหลกศีรษะแตกได้
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02-306-9899
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การลุกจากที่นอนอย่างกระทันหัน ไม่ทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือกระดูกกะโหลกศีรษะแตก เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เวลาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ
หน่วยงานที่ตรวจสอบ ถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข