จากกรณีมีการเผยแพร่ว่าภาคเหนือเตรียมรับมือผลกระทบจากพายุไซโคลนอัสนี วันที่ 12 พ.ค. 65 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า พายุไซโคลนอัสนีมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ทางด้านตะวันออกของประเทศอินเดียและจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย
วันนี้ (11 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อเกี่ยวกับประเด็นภาคเหนือ เตรียมรับมือผลกระทบจากพายุไซโคลนอัสนี วันที่ 12 พ.ค. 65 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีข้อความบนสื่อออนไลน์กล่าวว่าภาคเหนือ เตรียมรับมือผลกระทบจากพายุไซโคลนอัสนี วันที่ 12 พ.ค. 65 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า จากการตรวจสอบเส้นทางพายุไซโคลน อัสนี (ASANI) จากศูนย์พยากรณ์อากาศต่างๆ ยังให้มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย เข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค.65 ทางด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย หรือบังคลาเทศ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย ซึ่งหลังจากที่พายุสลายตัวไปแล้ว จะทำให้มีลมตะวันตกเฉียงใต้ หรือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะด้านตะวันตก มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ไม่ได้เกิดจาก การสลายตัวหรืออ่อนกำลังลงของพายุแต่ประการใด
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทาง กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.tmd.go.th/index.php หรือโทร. สายด่วน 1182 และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2399 4547 ตลอด 24 ชั่วโมง
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : พายุไซโคลนอัสนี จากศูนย์พยากรณ์อากาศต่างๆ ยังให้มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย เข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค.65 ทางด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย หรือบังคลาเทศ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม