xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวบิดเบือน! ยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากที่มีการโพสต์ข้อความว่ายาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งการให้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน และอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เพราะอาการหรือความตอบสนองต่อเชื้อของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน

วันนี้ (28 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่า ยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงกับผู้สูงอายุป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้ฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งความเป็นจริงตามแนวทางการรักษา ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มอาการดังนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือสบายดี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia ปอดอักเสบรุนแรงไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการและได้รับออกซิเจน
ทั้งนี้ การให้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน และอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เพราะอาการหรือความตอบสนองต่อเชื้อของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.dms.go.th/ หรือโทร. 0-2590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งการให้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน และอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เพราะอาการหรือความตอบสนองต่อเชื้อของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น