xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์สบู่ช่วยกำจัดติ่งเนื้อ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีที่มีการโพสต์เกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์สบู่ช่วยกำจัดติ่งเนื้อ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์สบู่จัดเป็นเครื่องสำอางที่ใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกาย ใช้ร่วมกับน้ำสะอาดเพื่อชะล้างเหงื่อไคล ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกในชีวิตประจำวัน ไม่อาจไปกำจัดติ่งเนื้อได้ ซึ่งติ่งเนื้อจะมีลักษณะเป็นตุ่มที่ยื่นออกมา นิ่มๆ เป็นเนื้อเยื่อ และมีเส้นเลือดเล็กๆ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน

วันนี้ (27 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์สบู่ช่วยกำจัดติ่งเนื้อ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์รูปภาพแนะนำผลิตภัณฑ์สบู่ช่วยกำจัดติ่งเนื้อ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์สบู่จัดเป็นเครื่องสำอางที่ใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกาย ใช้ร่วมกับน้ำสะอาดเพื่อชะล้างเหงื่อไคล ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกในชีวิตประจำวัน ไม่อาจไปกำจัดติ่งเนื้อได้ ซึ่งติ่งเนื้อนั้นจะมีลักษณะเป็นตุ่มที่ยื่นออกมา นิ่มๆ เป็นเนื้อเยื่อ และมีเส้นเลือดเล็กๆ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน แต่มักพบติ่งเนื้อเกิดขึ้นในบริเวณที่ผิวหนังมีการเสียดสีต่อเนื่องกับผิวหนังด้วยกัน พบได้บริเวณรอบคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ หรือใบหน้า และพบได้ทั่วไปทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 30-50 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่จำเป็นต้องรักษา การลดความเสี่ยงที่จะเกิดติ่งเนื้อ คือ การใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและเลือกใส่เครื่องประดับที่เหมาะสม เพื่อลดการเสียดสี หากติ่งเนื้อมีขนาดเกิน 5 มิลลิเมตร หรือโตเร็วผิดปกติ หรือมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย หรือมีความต้องการกำจัดติ่งเนื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งหลังรักษาอาจจะมีแผลตื้นๆ ควรทายาและดูแลให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข https://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx หรือโทร. 02-590-7000 ได้ในเวลาราชการ

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สบู่มีหน้าที่ใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกาย สิ่งสกปรกในชีวิตประจำวัน ไม่อาจไปกำจัดติ่งเนื้อได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น