จากกรณีที่มีการโพสต์ในเฟซบุ๊กว่า หากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ไม่สามารถป้องกัน BA.2 ได้มากกว่า BA.1 ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า สายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดทั่วโลกมี 2 สายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ในไทยเริ่มมี BA.2 เพิ่มขึ้นประมาณ 50 % การติดเชื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีรายงานเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
วันนี้ (23 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องหากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ไม่สามารถป้องกัน BA.2 ได้มากกว่า BA.1 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการโพสต์ในเฟซบุ๊กว่าหากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ไม่สามารถป้องกัน BA.2 ได้มากกว่า BA.1 ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ขณะนี้สายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดทั่วโลกมี 2 สายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ซึ่ง BA.2 มีความรุนแรงใกล้เคียงกับ BA.1 แต่มีข้อมูลเพิ่มว่าจะติดเชื้อและแพร่เร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.4 เท่า และประเทศไทยเริ่มมี BA.2 เพิ่มขึ้นประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์แล้ว และประเทศไทยการติดเชื้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งลักษณะคลัสเตอร์และสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชน ซึ่งการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทำให้มีโอกาสเข้าสู่กลุ่มเสี่ยง ทำให้ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ หรืออาจเสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามมาได้ โดยวันนี้มีรายงานเสียชีวิต 32 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยและมีโรคเรื้อรัง และ 60% ยังไม่ฉีดวัคซีน ส่วนที่เหลือไม่ได้ฉีดบูสเตอร์ จึงต้องรณรงค์ให้กลุ่ม 608 รับการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อลดการป่วยหนักและเสียชีวิต
สำหรับช่วงวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2565 มีการติดเชื้อเฉลี่ย 108,625 ราย เป็นคนไทย 96% ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสถานที่เสี่ยง มีลักษณะเป็นคลัสเตอร์ ทั้งโรงเรียน ตลาด แคมป์ก่อสร้าง โรงงานและสถานประกอบการ ร้านอาหาร ประมาณ 54% และสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงในครอบครัว 44% พบว่าไม่มีอาการป่วย 53% มีอาการป่วย 46% อาการสำคัญที่พบ คือ เจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ต่ำ ๆ ดังนั้น หากมีอาการเจ็บคอ ไอ ควรตรวจ ATK ทันที ส่วนกลุ่มอายุเด็ก 0-9 ปี และ 10-19 ปีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศมีอัตราการติดเชื้อมากกว่า 100 คนต่อแสนประชากร และเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนใหญ่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ ทั้งอายุต่ำกว่า 18 ปี อายุ 18-59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม จากการรวมกลุ่มกิจกรรม รับประทานอาหาร และสัมผัสใกล้ชิดมาก ๆ ทำให้การกระจายโรคเพิ่มต่อเนื่อง จึงต้องย้ำเรื่องการแจ้งเตือนภัยระดับ 4
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดทั่วโลกมี 2 สายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ส่วนประเทศไทยเริ่มมี BA.2 เพิ่มขึ้นประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งการติดเชื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีรายงานเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยและมีโรคเรื้อรัง ซึ่ง 60% ยังไม่ฉีดวัคซีน ส่วนที่เหลือไม่ได้ฉีดบูสเตอร์ จึงต้องรณรงค์ให้กลุ่ม 608 รับการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อลดการป่วยหนักและเสียชีวิต
หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข