จากกรณีที่มีข้อความบอกว่าก้านและใบมะยมต้ม สามารถใช้รักษาโรคโลหิตจางได้ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าจากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ไม่สามารถยืนยันสรรพคุณได้จริง เนื่องจากมะยมสามารถนำมาประกอบอาหารได้ มีการใช้ส่วนต่าง ๆ เป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน และการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แต่ยังไม่พบรายงานเรื่องสรรพคุณของก้านมะยมในการรักษาโรคโลหิตจาง
วันนี้ (10 มี.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่องก้านและใบมะยมต้ม สามารถใช้รักษาโรคโลหิตจางได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแนะนำวิธีรักษาโรคโลหิตจางด้วยการดื่มน้ำต้มก้านและใบมะยม ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าจากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ยังไม่สามารถยืนยันสรรพคุณได้จริง เนื่องจากมะยมเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ใบสามารถนำมาประกอบอาหารได้ มีการใช้ส่วนต่าง ๆ เป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยใช้รสเปรี้ยวรักษาความดันโลหิตสูง และการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะ แต่ยังไม่พบรายงานเรื่องสรรพคุณของก้านมะยมในการรักษาโรคโลหิตจางหรือความดันโลหิตต่ำ หากต้องการรับประทานเพื่อรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์แผนไทย หรือแพทย์เภสัชกรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมจะมีพิษเล็กน้อย การรับประทานเข้าไปอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงซึมได้ ควรระวังน้ำยางจากเปลือกรากให้ดี
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่พบรายงานเรื่องสรรพคุณของก้านมะยมในการรักษาโรคโลหิตจาง
หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข