กรณีเผยแพร่ข้อมูลว่าหากนำอุปกรณ์ Power Factor Saver ไปเสียบกับเต้ารับไฟฟ้าภายในบ้านจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน ได้สูงสุดถึง 50% นั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงว่า อุปกรณ์ดังกล่าวฯ ไม่สามารถประหยัดไฟฟ้าได้จริงและอาจส่งผลให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติหรือกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมายได้
วันนี้ (1 มี.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการแนะนำอุปกรณ์ Power Factor Saver ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าสูงสุด 50% โดยไม่ผิดกฎหมาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การไฟฟ้านครหลวง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีเผยแพร่ข้อมูลว่าหากนำอุปกรณ์ Power Factor Saver ไปเสียบกับเต้ารับไฟฟ้าภายในบ้านจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน ได้สูงสุดถึง 50% นั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงว่า อุปกรณ์ดังกล่าวฯ ไม่สามารถประหยัดไฟฟ้าได้จริงและอาจส่งผลให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติหรือกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมายได้ ซึ่งเมื่อทำการผ่าพิสูจน์ตัวเครื่อง พบเป็นเพียงตัวควบคุมหลอดแอลอีดี และคาปาซิเตอร์ ที่เป็นตัวเก็บประจุ โดยมีอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่เพียงแค่ 2 ชิ้นเท่านั้น หากใช้ยังส่งผลให้เสียค่าไฟเพิ่มมากขึ้น และเมื่อใช้งานไปนานๆ อาจส่งผลให้เกิดไฟไหม้ภายในตัวบ้านได้อีกด้วย อีกทั้งเว็บไซต์ยังยังแอบอ้างโดยการนำภาพข่าวของ กฟน. และสื่อมวลชนต่าง ๆ ไปตัดต่อสร้างความน่าเชื่อถือใช้โฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงประชาชน
จึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ สำหรับอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีอยู่จริงนั้น จะนำมาใช้ในบางกรณีสำหรับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงซึ่งจะประหยัดไฟฟ้าได้ในลักษณะการเรียกเก็บค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ เช่น กิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ หรือกิจการเฉพาะอย่าง ดังนั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยทั่วไปแทบจะไม่ได้รับประโยชน์จากการติดตั้งเครื่องประหยัดไฟฟ้าเหล่านี้
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และหากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ 3 การไฟฟ้า หรือติดต่อผ่าน MEA Call Center โทร. 1130 หรือ PEA Call Center 1129 หรือศูนย์บริการข้อมูล กฟผ. โทร. 1416 ตลอด 24 ชั่วโมง
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อุปกรณ์ Power Factor Saver ไม่สามารถประหยัดไฟฟ้าได้จริง และอาจส่งผลให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติหรือกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมายได้
หน่วยงานที่ตรวจสอบ การไฟฟ้านครหลวง