xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! คลิปเสียงการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่องรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลวัคซีนโควิด 19 กับประชาชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีที่มีการแชร์คลิปเสียงที่กล่าวอ้างว่าเป็นคลิปเสียงหลุด การประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขเรื่องวัคซีน ทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลิปเสียงปลอม ไม่ใช่เสียงจากการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กล่าวอ้าง และขอยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 ช่วยลดป่วยหนัก ลดเสียชีวิตได้

วันนี้ (17 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น คลิปเสียงการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่องรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลวัคซีนโควิด 19 กับประชาชน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการแชร์คลิปเสียงที่กล่าวอ้างว่าเป็นคลิปเสียงหลุด การประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขเรื่องวัคซีน ทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลิปเสียงปลอม ไม่ใช่เสียงจากการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กล่าวอ้าง และขอยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 ช่วยลดป่วยหนัก ลดเสียชีวิตได้ โดยข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลการใช้จริงในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ช่วงตุลาคม-ธันวาคม 2564 ที่เป็นการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และช่วงเดือนมกราคม 2565 ที่มีการระบาดของโอมิครอน พบว่า การฉีดวัคซีน 2 เข็ม ช่วงตุลาคม-ธันวาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อได้ 71% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 97% เมื่อถึงเดือนมกราคม 2565 พบว่าไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโอมิครอนได้ แต่ยังป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 89% สำหรับการฉีดเข็ม 3 ช่วงตุลาคม-ธันวาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อได้ 93% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 99% ส่วนมกราคม 2565 การป้องกันการติดเชื้อลดลงเหลือ 68% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 96% ทั้งนี้การฉีดเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา พบว่าประสิทธิผลดีไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 3 เดือน จึงควรรีบมาฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์โดยเร็ว ร่วมกับการใช้มาตรการต่างๆ ทั้งการป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา COVID Free Setting การเว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่ปิดอับระบายอากาศไม่ดี มีคนหนาแน่น และตรวจ ATK เมื่อมีความเสี่ยง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติต่อไป(รายละเอียดตามข่าว https://bit.ly/3LCORkz)

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.moph.go.th หรือโทร 02-590-1000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : คลิปเสียงดังกล่าว เป็นคลิปเสียงปลอม ไม่ใช่เสียงจากการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กล่าวอ้าง

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น