xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวจริง! อาการเครียดเกินไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและอาจเสียชีวิตได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Broken Heart Syndrome หรือ Stress Cardiomyopathy เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย หรือความเครียดด้านจิตใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและอ่อนกำลังลงชั่วคราว หัวใจด้านล่างซ้ายผิดปกติโป่งออกรูปร่างคล้ายไหจับปลาหมึกของญี่ปุ่น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้

วันนี้ (17 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง อาการเครียดเกินไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและอาจเสียชีวิตได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

Broken Heart Syndrome หรือ Stress Cardiomyopathy เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด ซึ่งค้นพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในชื่อเรียกว่า Takotsubo Cardiomyopathy พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย (Physical Stress) หรือความเครียดด้านจิตใจ (Mental Stress) ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและอ่อนกำลังลงชั่วคราว หัวใจด้านล่างซ้ายผิดปกติโป่งออกรูปร่างคล้ายไหจับปลาหมึกของญี่ปุ่น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ตัวการ Broken Heart Syndromeไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ อาทิ ความเจ็บป่วยทางการแพทย์ การสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง ปัญหาการงาน การเงิน ความผิดหวังอย่างรุนแรง บาดเจ็บสาหัส ยาเสพติดฯลฯความเครียดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสะสม ทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและล้มเหลวได้ฮอร์โมน กลุ่มอาการนี้หรือโรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะหมดไป ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทนต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด (Stress Hormone) ในร่างกายได้น้อย อาจทำให้ Broken Heart Syndrome ได้

การรักษา Broken Heart Syndrome ภาวะ Broken Heart Syndrome ส่วนใหญ่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล มีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมากและรุนแรงได้เช่นกัน วิธีการรักษาหากไม่รุนแรงอายุรแพทย์โรคหัวใจจะให้การรักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่รุนแรงและมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจต้องมีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ และต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย จากรายงานวารสารต่างประเทศส่วนใหญ่หัวใจจะกลับมาปกติ มีโอกาสเสียชีวิตน้อยประมาณ 1% โอกาสเป็นซ้ำได้ 2 – 5%

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น