xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวบิดเบือน! ใส่รองเท้าแตะขับรถผิดกฎหมายตาม พรบ.ขนส่งทางบก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากที่มีการดผยแพร่ว่าใส่รองเท้าแตะขับรถผิดกฎหมายตาม พรบ.ขนส่งทางบก ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่า กฎหมายที่ว่าห้ามใส่รองเท้าแตะขณะขับรถนั้นมีอยู่จริง แต่มีผลที่จะใช้บังคับเฉพาะคนขับรถบางกลุ่ม เช่น คนขับรถขนส่ง รถบรรทุก รถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ไม่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการแต่งกายในการขับรถ

วันนี้ (20 ม.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ปรระเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใส่รองเท้าแตะขับรถผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีการแชร์ว่าใส่รองเท้าแตะขับรถผิดกฎหมายตาม พรบ.ขนส่งทางบก นั้น ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงว่า กฎหมายที่ว่าห้ามใส่รองเท้าแตะขณะขับรถ มีอยู่จริง แต่มีผลที่จะใช้บังคับเฉพาะคนขับรถบางกลุ่ม ประชาชนทั่วไปที่ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ไม่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการแต่งกายในการขับรถ

สำหรับคนขับรถขนส่ง รถบรรทุก รถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้ใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ทั้งนี้ควรระมัดระวังในการขับรถ เพราะเคยมีเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรองเท้ามาแล้ว ซึ่งหากประมาทจะทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นได้

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถติดตามข่าวสารของกรมการขนส่งทางบก website: www.dlt.go.th ,Facebook: กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News , https://www.facebook.com/PR.DLT.NEWS/ สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กฎหมายที่ว่าห้ามใส่รองเท้าแตะขณะขับรถนั้นมีอยู่จริง แต่มีผลที่จะใช้บังคับเฉพาะคนขับรถบางกลุ่ม เช่น คนขับรถขนส่ง รถบรรทุก รถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ไม่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการแต่งกายในการขับรถ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม


กำลังโหลดความคิดเห็น