xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ สมุนไพรริดซี่ DRD Herb รักษาภูมิแพ้ ไซนัส ริดสีดวงจมูก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีการโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์สมุนไพรริดซี่ DRD Herb รักษาภูมิแพ้ ไซนัส ริดสีดวงจมูก ด้านอย. ได้สืบค้นข้อมูลวิชาการ ไม่พบปรากฏหลักฐานข้อมูลการวิจัยถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อสรรพคุณดังกล่าว และผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้รับการขึ้นทะเบียนตํารับยาในสรรพคุณ “บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก” ซึ่งไม่สอดคล้องตามที่รับอนุญาต จึงไม่แนะนําให้รับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว

วันนี้ (9 พ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการใช้คำโฆษณาสรรพคุณผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ สมุนไพรริดซี่ DRD Herb รักษาภูมิแพ้ ไซนัส ริดสีดวงจมูก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรริดซี่ DRD Herb โดยระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาภูมิแพ้ ไซนัส ริดสีดวงจมูกนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามที่ปรากฏดังกล่าวแล้วพบว่า เป็นยาแคปซูล สมุนไพรที่ประกอบด้วยสมุนไพรจำนวน 9 ชนิดได้แก่ โกฐน้ำเต้า เทียนดำ โกฐกักกรา เปลือกโมกหลวง ยาดำ เพชรสังฆาต เทียนสัตตบุษย์ อัคคีทวารและผักแพวแดง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสูตรตํารับแล้วเห็นว่า มิได้มีสรรพคุณ รักษาภูมิแพ้ ไซนัส ริดสีดวง จมูก แต่อย่างใด

โดยจากการสืบค้นข้อมูลวิชาการ ไม่พบปรากฏหลักฐานข้อมูลการวิจัยถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อสรรพคุณดังกล่าว และจากการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว ได้รับการขึ้นทะเบียนตํารับยาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่ได้รับอนุญาตในสรรพคุณ “บรรเทาอาการ ริดสีดวงทวารหนัก” ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว จึงมีการกล่าวอ้างสรรพคุณที่ ไม่สอดคล้องตามที่รับอนุญาต จึงไม่แนะนําให้รับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งได้ที่ www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน อย. 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการ ไม่พบปรากฏหลักฐานข้อมูลการวิจัยถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อสรรพคุณดังกล่าว และในระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากอย. ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้รับการขึ้นทะเบียนตํารับยาในสรรพคุณ “บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก” ซึ่งไม่สอดคล้องตามที่รับอนุญาต จึงไม่แนะนําให้รับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น