จากประเด็นดื่มนมเยอะ มีผลเสียทำให้เป็นหลายโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากนมเป็นแหล่งของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แม้ว่าในน้ำนมมีไขมันอยู่ แต่เมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ไขมันที่อยู่ในอาหารประเภทอื่น ๆ ถือว่ามีปริมาณน้อยมาก
วันนี้ (6 พ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่อง ดื่มนมเยอะ มีผลเสียทำให้เป็นหลายโรค ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีชวนเชื่อเรื่องสุขภาพที่ระบุว่าดื่มนมเยอะ ๆ จะทำให้เป็นหลายโรค เพราะนมมีไขมันสูง ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ไม่เป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง นมเป็นแหล่งของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง นมเหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะนมมีแคลเซียมสูง จะช่วยเสริมสร้างกระดูกทั้งมารดาและทารกในครรภ์ทั้งนี้ ในน้ำนม มีไขมันอยู่จริง แต่เมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ไขมันที่อยู่ในอาหารประเภทอื่น ๆ ถือว่ามีปริมาณน้อยมาก ซึ่งเด็กควรบริโภคนมในปริมาณที่เหมาะสมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว โดยเป็นนมจืดจะดีที่สุด เพราะสามารถช่วยลดพฤติกรรมการติดหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ส่วนผู้ใหญ่ ควรรับประทานนมพร่องมันเนย หรือ นมขาดมันเนย และควรหลีกเลี่ยงนมที่มีรสหวาน เพราะอาจได้รับไขมัน หรือน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 02-590-7000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : นมเป็นแหล่งของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในน้ำนม มีไขมันอยู่จริง แต่เมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ไขมันที่อยู่ในอาหารประเภทอื่น ๆ ถือว่ามีปริมาณน้อยมาก
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข