xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวจริง! การรถไฟฯ เปิดให้บริการเดินรถเพิ่ม 46 ขบวน รองรับการผ่อนคลายมาตรการของ ศบค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การรถไฟฯ ปรับการเดินขบวนรถให้สอดคล้องกับสภาพการเดินทางและรองรับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล โดยเพิ่มการให้บริการขบวนรถเชิงพาณิชย์ และขบวนรถเชิงสังคมจำนวน 46 ขบวน ได้แก่ เส้นทางสายเหนือ 10 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ขบวน สายใต้ 6 ขบวน สายตะวันออก 4 ขบวน และสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย 10 ขบวน เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน

วันนี้ (4 พ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่อง การรถไฟฯ เปิดให้บริการเดินรถเพิ่ม 46 ขบวน รองรับการผ่อนคลายมาตรการของ ศบค. ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้มีมาตรการผ่อนคลายการเดินทาง และยกเลิกมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ทุกจังหวัด ยกเว้นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 7 จังหวัด การรถไฟฯ จึงได้ปรับการเดินขบวนรถให้สอดคล้องกับสภาพการเดินทางและรองรับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล โดยเพิ่มการให้บริการขบวนรถเชิงพาณิชย์ และขบวนรถเชิงสังคมจำนวน 46 ขบวน ได้แก่ เส้นทางสายเหนือ 10 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ขบวน สายใต้ 6 ขบวน สายตะวันออก 4 ขบวน และสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย 10 ขบวน รวมทั้งปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางในบางขบวนใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและนักท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีขบวนรถที่ให้บริการในเส้นทางต่าง ๆ ดังนี้

สายเหนือ

ขบวนรถเชิงพาณิชย์ จำนวน 6 ขบวน

– ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ (เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564)

– ขบวนรถด่วนที่ 107/108 กรุงเทพ – เด่นชัย – กรุงเทพ

– ขบวนรถเร็วที่ 111/112 กรุงเทพ – เด่นชัย – กรุงเทพ

ขบวนรถเชิงสังคม จำนวน 4 ขบวน

– ขบวนรถธรรมดาที่ 207/208 กรุงเทพ – นครสวรรค์ – กรุงเทพ

– ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ – บ้านตาคลี – กรุงเทพ

สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ขบวนรถเชิงพาณิชย์ จำนวน 4 ขบวน

– ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ

– ขบวนรถเร็วที่ 133/134 กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ

ขบวนรถเชิงสังคม จำนวน 12 ขบวน

– ขบวนรถชานเมืองที่ 339/340 กรุงเทพ – ชุมทางแก่งคอย – กรุงเทพ

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา – อุบลราชธานี – ลำชี

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 423/424 ลำชี – สำโรงทาบ – นครราชสีมา

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/422 ลำชี – อุบลราชธานี – ลำชี

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย – ขอนแก่น – ชุมทางแก่งคอย

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย – ชุมทางบัวใหญ่ – ชุมทางแก่งคอย

สายใต้

ขบวนรถเชิงสังคม จำนวน 6 ขบวน

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 455/456 ชุมทางหาดใหญ่ – ยะลา – ชุมทางหาดใหญ่ (ไม่มีเดินช่วงนครศรีธรรมราช – หาดใหญ่ – นครศรีธรรมราช)

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 489/490 สุราษฎร์ธานี – คีรีรัฐนิคม – สุราษฎร์ธานี

– ขบวนรถท้องถิ่นที่ 485/486 กาญจนบุรี – น้ำตก – กาญจนบุรี (ไม่มีเดินช่วงหนองปลาดุก – กาญจนบุรี – หนองปลาดุก)

สายตะวันออก

ขบวนรถเชิงพาณิชย์ จำนวน 1 ขบวน

– ขบวนรถพิเศษที่ 997/998 กรุงเทพ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพ (ให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564)

ขบวนรถเชิงสังคม จำนวน 1 ขบวน

– ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพ

สายมหาชัย-วงเวียนใหญ่ จำนวน 10 ขบวน

– ขบวนรถธรรมดาที่ 4308/4309 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย

– ขบวนรถธรรมดาที่ 4310/4311 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย

– ขบวนรถธรรมดาที่ 4326/4327 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย

– ขบวนรถธรรมดาที่ 4328/4329 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย

– ขบวนรถธรรมดาที่ 4340/4341 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย

การรถไฟฯ ได้ทยอยปรับเพิ่มการเดินรถให้สอดรับกับการผ่อนคลายมาตรการของ ศบค. เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมต่อการให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้เปิดให้บริการทั้งสิ้น 108 ขบวนต่อวัน เป็นขบวนรถเชิงพาณิชย์ 26 ขบวน และขบวนรถเชิงสังคม 82 ขบวน โดยแบ่งตามเส้นทางเป็นสายเหนือ 22 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 24 ขบวน สายใต้ 30 ขบวน สายตะวันออก 16 ขบวน สายมหาชัย 12 ขบวน และสายแม่กลอง 4 ขบวน

อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มให้บริการเดินรถในครั้งนี้ การรถไฟฯ คำนึงถึงการให้บริการประชาชน ควบคู่กับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยได้กำหนดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้โดยสารก่อนเข้าในพื้นที่สถานี การตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ การให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พร้อมกับให้สแกนแอปพลิเคชันไทยชนะก่อนและหลังใช้บริการ หากผู้โดยสารไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันไทยชนะให้กรอกข้อมูลการเดินทางแทน พร้อมกับต้องกรอกข้อมูลเดินทางข้ามจังหวัด-ข้ามเขตผ่านเว็บไซต์ “หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” https://covid-19.in.th/ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดการเดินทาง

สำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทาง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม


กำลังโหลดความคิดเห็น