จากคำแนะนำวิธีการตรวจสอบธนบัตรปลอมนำธนบัตรถูกับกระดาษสีขาวนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า การตรวจสอบธนบัตรด้วยวิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจสอบที่อาจได้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้อง เนื่องจากสีของธนบัตรปลอมในบางฉบับอาจหลุดติดกับกระดาษได้เช่นกัน โดยการสังเกตหรือตรวจสอบธนบัตรที่มีความถูกต้องและรวดเร็วคือ การ “สัมผัส ยกส่อง พลิกเอียง”
วันนี้ (1 ต.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับ นำธนบัตรถูกับกระดาษสีขาว เพื่อตรวจสอบว่าเป็นธนบัตรจริงหรือปลอม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
จากคลิปวิดีโอที่แนะนำวิธีการตรวจสอบธนบัตรปลอม โดยใช้ธนบัตรถูกับกระดาษ หากสีหลุดติดกระดาษคือธนบัตรจริงนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า การตรวจสอบธนบัตรด้วยวิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจสอบที่อาจได้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้อง เนื่องจากสีของธนบัตรปลอมในบางฉบับอาจหลุดติดกับกระดาษได้เช่นกัน
หากประชาชนใช้วิธีตรวจสอบโดยการขูดหรือถูสีกับกระดาษจะทำให้หมึกพิมพ์เส้นนูนที่กองอยู่บนเนื้อกระดาษหลุดลอกและแบนราบ ความคมชัดของลวดลายเส้นนูนบนธนบัตรจะเสียหายและสังเกตได้ยาก และสิ่งสำคัญคือการขูดธนบัตรกับกระดาษอาจทำให้ธนบัตรชำรุดเสียหาย ไม่สามารถนำไปใช้หมุนเวียนได้ต่อไป ธปท. จึงขอแนะนำให้ประชาชนสังเกตหรือตรวจสอบธนบัตรด้วยวิธีการตรวจสอบธนบัตรที่มีความถูกต้องและรวดเร็วคือ การ “สัมผัส ยกส่อง พลิกเอียง” จากจุดสังเกตต่าง ๆ บนธนบัตร รายละเอียดตามลิงก์ https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/Pages/identify.aspx
ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 1213
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การตรวจสอบธนบัตรด้วยวิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจสอบที่อาจได้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้อง เนื่องจากสีของธนบัตรปลอมในบางฉบับอาจหลุดติดกับกระดาษได้เช่นกัน
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารแห่งประเทศไทย