xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากวัคซีนโควิด-19 มากกว่าล้านราย และกว่า 60 ล้านคนมีผลข้างเคียงที่ไม่ดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีเผยแพร่ข้อมูลสหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากวัคซีนโควิด-19 มากกว่าล้านราย และกว่า 60 ล้านคนมีผลข้างเคียงที่ไม่ดี กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ข้อมูลจาก ThaiPublica ระบุว่านักธุรกิจชาวอเมริกันคนดังกล่าว ไม่เคยเรียกร้องให้ถอนวัคซีนโควิด-19 เนื้อหาทั้งหมดเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมา

วันนี้ (8 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากวัคซีนโควิด-19 มากกว่าล้านราย และกว่า 60 ล้านคนมีผลข้างเคียงที่ไม่ดี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่านักธุรกิจชาวอเมริกันชื่อดัง ได้เรียกร้องให้ถอนวัคซีนโควิดทั้งหมด ออกจากตลาดสหรัฐฯ เพราะวัคซีนอันตรายเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ ซึ่งจะเห็นได้จากผู้เสียชีวิตจากวัคซีนโควิด-19 มากกว่าล้านราย และกว่า 60 ล้านคนมีผลข้างเคียงที่ไม่ดี ทางกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยข้อมูลจาก ThaiPublica ได้ให้ข้อมูลในประเด็นนี้ว่า นักธุรกิจชาวอเมริกันชื่อดังคนดังกล่าว ไม่เคยเรียกร้องให้ถอนวัคซีนโควิด-19 เนื้อหาทั้งหมดเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมา

ซึ่งวัคซีนโควิดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ วัคซีนที่จะรับการอนุมัติก็ต่อเมื่อผ่านการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพอย่างครอบคลุม ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาสาสมัครหลายหมื่นคน และแม้จะได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินและได้รับการอนุมัติจาก FDA อย่างเต็มรูปแบบแล้ว แต่ยังคงมีการตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพต่อเนื่อง

ทั้งนี้หากประชาชนต้องการรายละเอียดเพิ่มในประเด็นดังกล่าว สามารถอ่านได้ที่ ThaiPublica : https://thaipublica.org/2021/09/screenshot-bill-gates-covid-vaccines-withdralwal-goes-viral/

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกกระทรวงการต่างประเทศ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mfa.go.th หรือโทร 02 2035000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เนื้อหาที่มีการแชร์เป็นข้อมูลเท็จ ที่ถูกแต่งเรื่องขึ้นมาจากสำนักข่าวต่างประเทศแห่งหนึ่ง

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น