xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! วัคซีนไฟเซอร์สำหรับฉีด booster ให้บุคลากรการแพทย์ โดนลดเหลือแค่ 2 แสนโดส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เผยจากที่มีการแชร์ข้อมูลตามประเด็นข้างต้น ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า มีการพิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ อย่างน้อย 5 แสนโดส ณ วันที่ 21 ก.ค. 64 แต่ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ พิจารณากลุ่มเป้าหมาย โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งผลการประชุมจะมีการชี้แจงเพิ่มเติม แต่ยืนยันว่าไม่น้อยกว่า 5 แสนโดสแน่นอน

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง วัคซีนไฟเซอร์สำหรับฉีด booster ให้บุคลากรการแพทย์ โดนลดเหลือแค่ 2 แสนโดส ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าวัคซีนไฟเซอร์หายไปไหน 3 แสนโดส เพราะตามเดิมบุคลากรการแพทย์ จะต้องได้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับฉีด booster จำนวน 5 แสนโดส แต่โดนลดเหลือแค่ 2 แสนโดสนั้น ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า มีการพิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ อย่างน้อย 5 แสนโดส ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 แต่ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ พิจารณากลุ่มเป้าหมาย โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งผลการประชุมจะมีการชี้แจงเพิ่มเติม แต่ยืนยันว่าไม่น้อยกว่า 5 แสนโดสแน่นอน ส่วนที่มีการให้ประมาณ 5 แสนโดส จาก 7 แสนโดสนั้น เนื่องจากมีบุคลากรณ์ทางการแพทย์บางส่วนได้ booster ด้วย AZ ไปแล้วประมาณ 2 แสนคน

โดยข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ วัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.54 ล้านโดส ได้ถูกแบ่งออกเป็น 6 กุล่มเป้าหมาย คือ
1. บุคลากรการแพทย์ด้านหน้า ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ (ฉีดเป็น booster dose จำนวน 1 เข็ม) ได้จำนวน 500,000 โดส / 500,000 ราย
2. ผู้สูงอายุผู้ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 โรค หญิงตั้งครรภ์ที่มีสัญชาติไทย จำนวน 800,000 โดส / 400,000 ราย แก่จังหวัดที่มีการระบาดสูง
3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุ และโรคเรื้อรัง จำนวน 150,000 โดส / 75,000 ราย พื้นที่ให้บริการที่เป็นจุดฉีดส่วนกลางของสธ.
4. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน/นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 45,000 โดส / 22,500 ราย พื้นที่ให้บริการ คือ ศูนย์บางรัก/สถาบันบำราศนราดูร
5. ทำการศึกษาวิจัย (ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการจริยธรรม) จำนวน 5,000 โดส / 2,500 ราย ให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้ดูแล
6. สำรองส่วนกลางสำหรับตอบโต้การระบาด จำนวน 40,000 โดส / 20,000 ราย ให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้ดูแล

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือโทร. 1422

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : บุคลากรทางการแพทย์ยังคงได้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับฉีด booster จำนวน 5 แสนโดสเท่าเดิม

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข




กำลังโหลดความคิดเห็น