กรณีการแชร์ข้อมูลมาตรการเยียวยาโควิด-19 ว่า นายกฯ อนุมัติแล้ว ให้เงินเยียวยาประชาชนคนละ 10,000 บาท ทุกคนทุกอาชีพ ไม่ต้องลงทะเบียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโควิด-19 นั้น ทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด
วันนี้ (14 มิ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง นายกฯ อนุมัติ ได้คนละ 10,000 บาท ทุกคนทุกอาชีพ ไม่ต้องลงทะเบียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการแชร์ข้อมูลมาตรการเยียวยาโควิด-19 ว่า นายกฯ อนุมัติแล้ว ให้เงินเยียวยาประชาชนคนละ 10,000 บาท ทุกคนทุกอาชีพ ไม่ต้องลงทะเบียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า ตรวจสอบแล้ว ไม่พบมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มาตรการเยียวยาประชาชน มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 มีดังนี้
1. โครงการเราชนะ 32.9 ล้านคน เพิ่มวงเงิน 2,000 บาท (2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท) ใช้จ่ายถึง 30 มิ.ย. 2564
2. โครงการ ม.33 เรารักกัน 9.29 ล้านคน เพิ่มวงเงิน 2,000 บาท (2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท) ใช้จ่ายถึง 30 มิ.ย. 2564
3. โครงการคนละครึ่งเฟส 3 จํานวน 31 ล้านคน รัฐสมสบวงเงินให้คนละ 3,000 บาท 2 งวด งวดแรก 1,500 บาท ก.ค.-ก.ย. / งวดสอง 1,500 บาท ต.ค.-ธ.ค. 2564
4. โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ คาดเข้าร่วม 4 ล้านคน สนับสนุน E-Voucher สูงสุด 7,000 บาท รับ E-Voucher ช่วง ก.ค. – ก.ย. 2564 ใช้จ่ายช่วง ส.ค. – ธ.ค. 2564
5. เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.65 ล้านคน คนละ 200 บาท 6 เดือน ก.ค. – ธ.ค. 2564
6. เพิ่มกําลังซื้อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 2.5 ล้านคน โดยเพิ่มวงเงิน 200 บาท 6 เดือน ก.ค. – ธ.ค. 2564
สําหรับมาตรการมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมาตรการเยียวยาประชาชน ซึ่งยังมีมาตรการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการภาษี มาตรการสินเชื่อ มาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าน้ํา ค่า ไฟ ฯลฯ
ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลมาตรการดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prd.go.th/th หรือโทร. 02-618-2323
บทสรุปของเรื่องนี้ : จากการตรวจสอบข้อมูล ไม่พบมาตรการเยียวยาประชาชนดังกล่าวแต่อย่างใด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี