จากกรณีเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า “ธนาคาร อิสลาม” ซึ่งได้นำข้อมูลของธนาคารไปโพสต์ และขอรับบริจาคเงิน จนทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นเพจทางการของธนาคารอิสลามนั้น ทางธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงว่า เฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นของปลอม โดยแอบอ้างนำชื่อ โลโก้ ของธนาคารไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก และการรับบริจาคดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น
วันนี้ (31 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีเพจเฟซบุ๊ก ใช้ชื่อ เฟซบุ๊กชื่อ “ธนาคาร อิสลาม” เป็นเพจทางการของของธนาคารอิสลาม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อว่า “ธนาคาร อิสลาม” ซึ่งได้นำข้อมูลของธนาคารไปโพสต์ และขอรับบริจาคเงิน จนทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นเพจทางการของธนาคารอิสลามนั้น ทางธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงว่า เฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นของปลอม ที่แอบอ้างนำชื่อ โลโก้ ของธนาคารไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก และการรับบริจาคดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับช่องทางสื่อสารอย่างเป็นทางในช่องทางเฟซบุ๊กของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะใช้ชื่อเพจว่า “Islamic Bank of Thailand – ibank”
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ibank.co.th หรือโทร 1302
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่าธนาคาร อิสลาม ไม่ใช่เพจเฟซบุ๊กทางการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก และการรับบริจาคดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย