xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! น้ำมันปลา ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปลา โดยระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ น้ำมันปลา 1000 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

วันนี้ (10 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง น้ำมันปลา ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปลา โดยระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ น้ำมันปลา 1000 (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา 1000 มก.) / FISH OIL 1000 (FISH OIL 1000 MG.DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT) อย. 13-1-03337-1-0172 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารน้ำมันปลามีข้อควรระวัง ได้แก่ “ผู้ที่แพ้ปลาทะเลหรือน้ำมันปลาห้ามรับประทาน” และ“ผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และหากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ น้ำมันปลา 1000 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น