xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพวิโดน ไอโอดีน กลั้วคอ ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงสู่ปอด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากประเด็นใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพวิโดน ไอโอดีน กลั้วคอ ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงสู่ปอด ทางอย. ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึง คือ โพวิโดนไอไอดีนชนิดกลั้วคอ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย ลดอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ แผลในปาก และระงับกลิ่นปากเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสจากลำคอลงสู่ปอดได้

วันนี้ (8 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวลปมอ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพวิโดน ไอโอดีน กลั้วคอ ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงสู่ปอด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดใช้กลั้วคอที่มีส่วนผสมของโพวิโดน ไอโอดีน ช่วยทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสจากลำคอลงสู่ปอดได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึง คือ โพวิโดนไอไอดีนชนิดกลั้วคอ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย ลดอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ แผลในปาก และระงับกลิ่นปากเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสจากลำคอลงสู่ปอดได้

และ อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์นี้โฆษณาว่าป้องกันไม่ให้ไวรัสลงสู่ปอด หรือที่ทำให้เข้าใจว่าสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้ เช่นเดียวกับสเปรย์สำหรับพ่นปาก และลำคอที่โฆษณาว่าสามารถยับยั้งและฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงเช่นกัน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และหากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผลิตภัณฑ์ชนิดกลั้วคอ และสเปรย์สำหรับพ่นปาก ลำคอ ที่มีส่วนผสมของโพวิโดนไอไอดีน ดังกล่าวไม่สามารถช่วยทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 และป้องกันเชื้อไวรัสจากลำคอลงสู่ปอดได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น