กรณีการแชร์ช่องทางการกู้เงินผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ชี้แจงว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าวเป็นเพจปลอม สร้างขึ้นเพื่อแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเพจดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ธ.ก.ส. สำหรับเพจเฟซบุ๊กของ ธ.ก.ส. ที่เป็นของจริงและถูกต้องจะใช้ชื่อว่า ธกส BAAC Thailand และมีจำนวนผู้ถูกใจเพจกว่า 4 แสนคน
วันนี้ (7 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่เพจเฟซบุ๊กโดยระบุเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เพจเฟซบุ๊กของ ธ.ก.ส. ใช้ชื่อว่า TrueCash – เงินด่วน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการแชร์ช่องทางแฟนเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อว่า TrueCash – เงินด่วน โดยระบุว่าเป็นเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน ธ.ก.ส. พร้อมบอกขั้นตอนการกู้เงินต่าง ๆ ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าวเป็นเพจปลอม สร้างขึ้นเพื่อแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หวังเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแฟนเพจ ซึ่งเพจดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ธ.ก.ส. สำหรับเพจเฟซบุ๊กของ ธ.ก.ส. ที่เป็นของจริงและถูกต้องจะใช้ชื่อว่า ธกส BAAC Thailand และมีจำนวนผู้ถูกใจเพจกว่า 4 แสนคน
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.baac.or.th หรือโทร. 02 555 0555
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าวเป็นเพจปลอม ซึ่งเพจดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ธ.ก.ส. สำหรับเพจเฟซบุ๊กของ ธ.ก.ส. ที่เป็นของจริงและถูกต้องจะใช้ชื่อว่า ธกส BAAC Thailand
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร