กรณีชวนเชื่อเรื่องความอันตรายของสารไตรโคลซานนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า สารไตรโคลซาน สามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการใช้ในเครื่องสำอาง แต่จะต้องใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้ ทั้งชนิดของเครื่องสำอางและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ ซึ่งจะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย
วันนี้ (30 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเตือนภัยเรื่อง สารไตรโคลซานในลิปสติก ยาสีฟัน และสบู่ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และดื้อยา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีชวนเชื่อเรื่องความอันตรายของสารไตรโคลซาน โดยระบุว่าหากได้รับสารไตรโคลซานจะทำให้หัวใจเต้นช้าลงถึง 20 นาที และสารเคมีนี้ยังทำให้ผู้ใช้เกิดอาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะอย่างรุนแรง ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าสารไตรโคลซาน สามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการใช้ในเครื่องสำอาง แต่จะต้องใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้ ทั้งชนิดของเครื่องสำอางและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ ซึ่งจะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายตามที่กล่าวอ้าง ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปตามหลักสากล ในสหภาพยุโรป และอาเซียนก็ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้เช่นเดียวกัน
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 และสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สารไตรโคลซาน สามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการใช้ในเครื่องสำอาง แต่จะต้องใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้ ทั้งชนิดของเครื่องสำอางและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ ซึ่งจะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข