xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวจริง! รถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี ยื่นเสียภาษีทางออนไลน์ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมการขนส่งทางบกได้พัฒนาเว็บไซต์ชำระภาษีรถประจำปี ให้สามารถรองรับรถยนต์เช่น รถเก๋ง, รถตู้, รถกระบะ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกได้แล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ รถนั้นต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนชำระภาษีในเว็บไซต์ได้

วันนี้ (29 มี.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง รถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี ยื่นเสียภาษีทางออนไลน์ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

กรมการขนส่งทางบกได้พัฒนาเว็บไซต์ชำระภาษีรถประจำปี ให้สามารถรองรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกได้แล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ รถนั้นต้อง “ผ่าน” การตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนชำระภาษีในเว็บไซต์ได้

โดยในปัจจุบัน เว็บไซต์ชำระภาษีรถประจำปี https://eservice.dlt.go.th/ สามารถให้บริการชำระภาษีรถประจำปี รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) และรถจักรยานยนต์ ได้ทุกอายุการใช้งานแล้ว เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาบริการเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกการให้บริการรับชำระภาษีรถประจำปี ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ให้แก่ประชาชน ด้วยแนวคิดอยู่ที่ไหน ก็ชำระภาษีรถประจำปีได้ง่ายๆ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

ซึ่งขั้นตอนการชำระภาษีผ่านเว็บไซต์สามารถทำได้ง่าย และสามารถเลือกชำระเงินผ่าน e-Banking บัตรเครดิต/บัตรเดบิต เคาน์เตอร์ธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้ไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง อยู่ที่ไหนก็สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ รอรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน จึงแนะนำให้ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dlt.go.th หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1584

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม


กำลังโหลดความคิดเห็น