xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! เมื่อท้องเสีย ต้องกินยาหยุดถ่ายเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากคำแนะนำว่าเมื่อมีอาการท้องเสีย ให้รับประทานยาหยุดถ่าย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าเป็นคำแนะนำว่าไม่ถูกต้อง เพราะการท้องเสียอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาหยุดถ่ายเสมอไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการท้องเสีย และยาหยุดถ่ายไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องเสีย แต่เป็นยาที่ช่วยให้หยุดถ่าย ซึ่งควรใช้ในเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น

วันนี้ (19 มี.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เมื่อท้องเสีย ต้องกินยาหยุดถ่ายเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากคำแนะนำว่าเมื่อมีอาการท้องเสีย ให้รับประทานยาหยุดถ่าย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นคำแนะนำว่าไม่ถูกต้อง เพราะการท้องเสียอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาหยุดถ่ายเสมอไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการท้องเสีย

ยาหยุดถ่าย (ตัวยาสำคัญ Loperamide) มีข้อบ่งใช้ คือ เพื่อบรรเทาอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน (ไม่มีอาการติดเชื้อ) และท้องเสียขณะท่องเที่ยวที่ไม่มีอาการติดเชื้อ โดยทั่วไป ยาตัวนี้ไม่ได้เป็นยาทางเลือกแรกในการรักษาอาการท้องเสีย เพราะยานี้ไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องเสีย แต่เป็นยาที่ช่วยหยุดถ่ายเท่านั้น หากกินเข้าไปแล้วอาจทำให้เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียไม่ถูกขับออกจากร่างกาย ดังนั้น ยาชนิดนี้จึงใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเอง ต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 และสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยาหยุดถ่ายไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องเสีย แต่เป็นยาที่ช่วยให้หยุดถ่าย ซึ่งควรใช้ในเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหยุดถ่ายเสมอไป

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น