xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวบิดเบือน! ภาษี e-Service เรียกเก็บจากผู้ค้าออนไลน์ ที่ใช้แพลตฟอร์มการค้าต่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากที่ประชนเกินความเข้าใจผิดตามประเด็นข้างต้น ทางกรมสรรพากร ได้ชี้แจงว่า ภาษี e-Service เป็นการเรียกเก็บภาษีจากผู้ให้บริการ ไม่ใช่จากผู้ค้าออนไลน์ แต่หากผู้ค้าออนไลน์มีรายได้จากการใช้แพลตฟอร์มการค้าจากต่างประเทศ ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามปกติ หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

วันนี้ (17 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ภาษี e-Service เรียกเก็บจากผู้ค้าออนไลน์ ที่ใช้แพลตฟอร์มการค้าต่างประเทศ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ภาษี e-Service ที่ระบุว่า หากมีการบังคับใช้แล้ว พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ต้อง ที่ใช้แพลตฟอร์มการค้าจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีนั้น ทางกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงว่า การนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อเรียกเก็บภาษีจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เท่านั้น ซึ่งกรมสรรพากรขอชี้แจงว่าผู้ที่มีรายได้จากการใช้แพลตฟอร์มการค้าจากต่างประเทศ เช่น ค้าขาย ยูทูปเบอร์ หรืออื่น ๆ ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามปกติ หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญ ด้วยปัจจุบันมีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและการใช้บริการดังกล่าว โดยเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน 2564 นี้

ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องภาษีต่างๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th หรือโทร. ศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ภาษี e-Service เป็นการเรียกเก็บภาษีจากผู้ให้บริการ ไม่ใช่จากผู้ค้าออนไลน์ แต่หากเป็นผู้ค้าออนไลน์เป็นผู้มีรายได้จากการใช้แพลตฟอร์มการค้าจากต่างประเทศ เช่น ค้าขาย ยูทูปเบอร์ หรืออื่น ๆ ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามปกติ หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง


กำลังโหลดความคิดเห็น