จากประเด็นเมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าเมล็ดต้นงิ้วสามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
วันนี้ (13 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง เมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อออนไลน์ ว่าเมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าเมล็ดต้นงิ้วสามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ โดยต้นงิ้ว (Bombax ceiba L.) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนี่ง จากการสืบค้นข้อมูลมีเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นงิ้ว เช่น ใบ ราก ดอก และเมล็ด มาทดสอบหาสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงรายงานวิจัยเบื้องต้นและมีจำนวนน้อยมาก ขณะเดียวกันปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาวิจัยที่ใช้เมล็ดต้นงิ้วรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาวิจัยที่ใช้เมล็ดต้นงิ้วรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข