xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากประเด็นต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยต้นสะเดาดำ สามารถนำยอดและดอกมารับประทานได้เหมือนกับยอดสะเดาเขียวทั่วไป แต่จะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ได้แก่ ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น

วันนี้ (13 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวตามสื่อออนไลน์ เรื่อง ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าสะเดาดำสามารถนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยต้นสะเดาดำ สามารถนำยอดและดอกมารับประทานได้เหมือนกับยอดสะเดาเขียวทั่วไป แต่พืชสะเดาดำนอกจากจะเป็นอาหารได้แล้วยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ได้แก่ ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสารสำคัญที่พบมากในสะเดาดำ คือ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีบทบาทในการช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ในด้านการรักษาโรคไม่พบหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ อีกทั้งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น