xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! กระทรวงแรงงาน ปลดล็อก 5 อาชีพ ให้แรงงานต่างชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากประเด็นกระทรวงแรงงาน ปลดล็อก 5 อาชีพ ให้แรงงานต่างชาติ ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงว่า ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นงานที่ห้ามแรงงานต่างชาติทำ ตามประกาศของกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามแรงงานต่างชาติทำ โดยปกติแรงงานต่างชาติทำงานได้ทุกงาน ยกเว้นงานห้าม 40 งาน โดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563

วันนี้ (1 ก.พ.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยข้อความแจ้งเตือน เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กระทรวงแรงงาน ปลดล็อก 5 อาชีพ ให้แรงงานต่างชาติ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวทางแอปพลิเคชั่นไลน์ว่า กระทรวงแรงงาน ปลดล็อก 5 อาชีพ ให้แรงงานต่างชาติ โดยระบุว่ามีอาชีพกรรมกร, เสริมสวย, ขับรถ, ตรวจสอบบัญชี และขายของหน้าร้าน ที่สามารถประกอบอาชีพและทำงานได้ ซึ่งทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงว่า ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก 1.งานสริมสวย และขับรถ เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด ตามบัญชีหนึ่ง ท้ายประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ 2.งานตรวจสอบบัญชี เป็นงานตามบัญชีสอง ที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขฯ และ 3.งานกรรมกร และงานขายของหน้าร้าน เป็นงานตามบัญชีสี่ ที่ห้ามคนต่างด้าวทำ โดยมีเงื่อนไขฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ โดยปกติคนต่างด้าวทำงานได้ทุกงาน ยกเว้นงานห้าม 40 งาน โดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และติดตามข่าวสารจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.doe.go.th/ หรือโทร. 02 247 9423

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ โดยปกติคนต่างด้าวทำงานได้ทุกงาน ยกเว้นงานห้าม 40 งาน โดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน


กำลังโหลดความคิดเห็น